Page 201 - kpi20858
P. 201
158
ด ารงราชานุภาพทรงทูลตอบว่า “การสร้างรูปท่านผู้หญิงโม้นั้น เป็นอุทาหรณ์อันหนึ่ง ซึ่งแสดงว่า
287
ความคิดสมัยใหม่ผิดกับสมัยเก่าหมดทุกอย่าง” ความคิดในลักษณะดังกล่าว สอดคล้องกับ สาย
พิณ แก้วงามประเสริฐ ซึ่งได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่แบบร่างดังกล่าว ไม่ได้รับการคัดเลือกให้ขยายเพื่อ
สร้างอนุสาวรีย์ ดังนี้
การที่กรมศิลปากรไม่ยอมรับรูปปั้นท้าวสุรนารี ที่มีรูปลักษณ์เป็นนางฟ้านั้น ประการ
แรกคงจะเป็นเพราะขัดกับความจริงที่ว่า ท้าวสุรนารีเป็น “มนุษย์” โดยเฉพาะมนุษย์ที่เป็น
“สามัญชน” ด้วย ดังนั้นรูปปั้นท้าวสุรนารี ถ้าจะสื่อให้เห็นการกระท าของท้าวสุรนารีได้ดีและ
เหมาะสมกับสภาพการณ์ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ รูปปั้นนี้จึงต้อง
มีความเป็นมนุษย์ธรรมดาที่ไม่ต้อง มีบุญญาบารมี แต่ต้องเป็นมนุษย์ที่กล้าหาญ ประการที่
สองคงจะเป็นการปฏิเสธแนวคิดตามคติเก่าด้วย เพราะแต่เดิม การจะสร้างรูปบุคคลที่
เคารพยกย่อง มักจะสร้างเป็นรูปเทวดามากกว่า ถึงยุคใหม่จึงต้องการสร้างรูปปั้นเหมือนจริง
288
การสร้างประติมากรรมให้เป็นหญิงสามัญแบบมนุษย์ธรรมดา ซึ่งปรากฏหลักฐานแสดง
บัญชีการเบิกจ่ายเงินของกรมศิลปากร เพื่อว่าจ้างหญิงมาเป็นแบบในการปั้น เมื่อครั้งแรกก่อนที่จะ
ท าการหล่อทองแดงรมด านั้น มีการน าเอาหุ่นปูนปลาสเตอร์ทาสีให้ดูคล้ายเพื่อติดตั้ง ณ ประตูชุม
พลเสียก่อน ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเขียนถึงใน
จดหมายที่เขียนถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาด ารงราชานุภาพ ความว่า
เกล้ากระหม่อมขอถวายรูปท้าวสุรนารีที่นาย เฟโรจี ปั้น อันตัดจากหนังสือพิมพ์มา
เพื่อทอดพระเนตร ปั้นดีพอใช้ เมื่ออ่านหนังสือใต้รูปว่า ตั้งและฉลองกันแล้วก็ตกใจ อะไร
หล่อแล้วเสร็จเร็วจริง ได้เห็นเมื่อต้นเดือนก าลังท าหุ่นปลาสเตอร์อยู่ ยังไม่แล้ว จึงไปฟังข่าวที่
นายเฟโรจี ได้ความว่าเอารูปปลาสเตอร์ทาเป็นสีทองสัมฤทธิ์ ไปตั้งที่ไหนดูไม่ออก เห็นจะสูง
289
อยู่เพราะเห็นหลังคามุงกระเบื้องหนุนหลังอยู่เบื้องต ่า
จากข้อมูลข้างต้นนั้นแสดงให้เห็นถึงความเร่งรีบในการติดตั้งอนุสาวรีย์เป็นอย่างมาก ทั้งนี้
พบว่ารูปท้าวสุรนารีที่น าขึ้นติดตั้งนั้นยังเป็นเพียงหุ่นปูนปลาสเตอร์ และทาสีเพื่อเลียนแบบสัมฤทธิ์
เท่านั้น สอดคล้องกับเอกสารเบิกจ่ายเงินส าหรับการสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ว่า ในวันที่ 7 มกราคม
287 เรื่องเดียวกัน, 318.
288 สายพิน แก้วงามประเสริฐ, การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี, 89.
289 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาด ารงราชานุภาพ, สาส์นสมเด็จ เล่ม 5
(กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา, 2504-2506), 11.