Page 42 - kpi20767
P. 42

17


                                   5) หลักความรับผิด (Accountability) คือ หลักการส าคัญที่องค์การทั้งภาครัฐ

                       ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เปิดโอการสให้มีการตรวจสอบ ซึ่งจะสะท้อนถึงความรับผิดต่อสาธารณะ

                       และต่อผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นการตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความส านึกในความรับผิดต่อ
                       สังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและการกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพ

                       ในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระท าของตน

                                  6) หลักความคุ้มค่า (Value for Money) หรือหลักประสิทธิภาพและหลักประสิทธิผล
                       (Efficiency and Effectiveness) เป็นการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่จ ากัดเพื่อให้เกิดประโยชน์

                       สูงสุดแก่ส่วนร่วมโดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัดใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มี

                       คุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน
                                หน่วยงานที่กล่าวถึงองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลอีกที่ส าคัญๆ เช่น กระทรวงมหาดไทย

                       (อ้างถึงใน ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์, 2543) และสถาบันพระปกเกล้า โดย ถวิลวดี บุรีกุล และวันชัย วัฒนศัพท์

                       (2545) และส านักงาน ก.พ.ร. (2556) นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยที่น าหลักธรรมาภิบาลของหน่วยงาน
                       เหล่านี้ไปศึกษา  ส่วนใหญ่จะอ้างอิงหลักธรรมาภิบาลตามระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้าง

                       ระบบบริหารการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542  ส านักงาน ก.พ.ร. และสถาบันพระปกเกล้า  โดยให้

                       ความส าคัญกับหลักธรรมาภิบาล ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม
                       3) หลักความโปร่งใส  4) หลักการมีส่วนร่วม 5) หลักความรับผิด และ 6) หลักความคุ้มค่า ดังนั้น การวิจัย

                       ครั้งนี้จึงใช้หลักธรรมาภิบาลซึ่งประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3)

                       หลักความโปร่งใส  4) หลักการมีส่วนร่วม 5) หลักความรับผิด และ 6) หลักความคุ้มค่า โดยผู้วิจัยได้ท า
                       การสังเคราะห์องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล เนื้อหาจะปรากฏในหัวข้อ การสังเคราะห์องค์ประกอบ

                       ชี้วัดการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้

                       หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ ต่อไป
                              2.1.4  การวัดหลักธรรมาภิบาล

                                ในการวัดหลักธรรมาภิบาล ผลการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พบว่า นักวิชาการ นักวิจัย

                       ได้จ าแนกหลักธรรมาภิบาลทั้ง 6 หลัก ออกมาเป็นองค์ประกอบย่อยไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ
                       1) องค์ประกอบหลักนิติธรรม  มีองค์ประกอบย่อยคือ การออกกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงาน

                       2) องค์ประกอบหลักคุณธรรม มีองค์ประกอบย่อยคือ การท างานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามมาตรฐาน

                       วิชาชีพ 3) องค์ประกอบหลักความโปร่งใส มีองค์ประกอบย่อยคือ ความโปร่งใสในการท างาน
                       4) องค์ประกอบหลักการมีส่วนร่วม มีองค์ประกอบย่อยคือ การมีส่วนร่วมของประชาชน 5) องค์ประกอบ
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47