Page 46 - kpi20767
P. 46
21
2. การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เพื่อแก้ไขปัญหาเดิม
และป้องกันไม่ให้ปัญหาใหม่เกิดขึ้น โดย 1) การแก้ไขปัญหาความมั่นคงในปัจจุบัน 2) การติดตามเฝ้าระวัง
ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจอุบัติขึ้นใหม่ 3) การสร้างความปลอดภัยและความสันติสุขอย่างถาวรใน
พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4) การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมทั้งทางบกและทางทะเล
3. การพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อความ
มั่นคงของชาติ เพื่อยกระดับขีดความสามารถของกองทัพและหน่วยงานด้านความมั่นคง โดย
1) การพัฒนาระบบงานข่าวกรองแห่งชาติแบบบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ 2) การพัฒนาและผนึกพลัง
อ านาจแห่งชาติ กองทัพและหน่วยงานความมั่นคง รวมทั้งภาครัฐและภาคประชาชนให้พร้อมป้องกันและ
รักษาอธิปไตยของประเทศ และเผชิญกับภัยคุกคามได้ทุกมิติทุกรูปแบบและทุกระดับ และ 3) การพัฒนา
ระบบเตรียมพร้อมแห่งชาติและการบริหารจัดการภัยคุกคามให้มีประสิทธิภาพ
4. การบูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอาเซียนและนานาชาติ รวมถึง
องค์การภาครัฐและที่มิใช่ภาครัฐ เพื่อสร้างเสริมความสงบสุข สันติสุข ความมั่นคง และความ
เจริญก้าวหน้า ให้กับประเทศชาติ ภูมิภาค และโลกอย่างยั่งยืน โดย 1) การเสริมสร้างและรักษาดุลยภาพ
สภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ 2) การเสริมสร้างและธ ารงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
และ 3) การร่วมมือทางการพัฒนากับประเทศเพื่อนบ้าน ภูมิภาคโลก รวมถึงองค์การภาครัฐและที่มิใช่
ภาครัฐ
5. การพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม เพื่อให้กลไก
ส าคัญต่าง ๆ ท างานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้หลักธรรมาภิบาล และการบังคับใช้กฎหมายอย่าง
เคร่งครัด โดย 1) การพัฒนากลไกให้พร้อมส าหรับการติดตาม เฝ้าระวัง แจ้งเตือน ป้องกัน และแก้ไข
ปัญหาความมั่นคงแบบองค์รวมอย่างเป็นรูปธรรม 2) การบริหารจัดการความมั่นคงให้เอื้ออ านวยต่อการ
พัฒนาประเทศในมิติอื่น ๆ และ 3) การพัฒนากลไกและองค์การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความ
มั่นคง
2.2.3.2 ยุทธศาสตร์การสร้างความสามารถในการแข่งขันยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้าง
ความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศใน
หลากหลายมิติบนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่