Page 47 - kpi20767
P. 47
22
1. “ต่อยอดอดีต” โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม
ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ
ของประเทศในด้านอื่น ๆ น ามาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบท
ของเศรษฐกิจ และสังคมโลกสมัยใหม่
2. “ปรับปัจจุบัน” เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
ในมิติต่าง ๆ ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดิจิทัล
และการปรับสภาพแวดล้อม ให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต
3. “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต” ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคน
รุ่นใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่
รองรับอนาคตบนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจาก
ภาครัฐให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน
ในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลางและลด
ความเหลื่อมล ้าของคนในประเทศได้ในคราวเดียวกัน
ยุทธศาสตร์การสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีตัวชี้วัดประกอบด้วย ดังนี้
1) รายได้ประชาชาติ การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และการ
กระจายรายได้
2) ผลิตภาพการผลิตของประเทศ ทั้งในปัจจัยการผลิตและแรงงาน
3) การลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา และ
4) ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
โดยประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ประกอบด้วย
5 ประเด็น ได้แก่
1. การเกษตรสร้างมูลค่า ให้ความส าคัญกับการเพิ่มผลิตภาพการผลิต ทั้งเชิงปริมาณ
และมูลค่า และความหลากหลายของสินค้าเกษตร ประกอบด้วย 1) เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น
2) เกษตรปลอดภัย 3) เกษตรชีวภาพ 4) เกษตรแปรรูป และ 5) เกษตรอัจฉริยะ
2. อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต โดยสร้างอุตสาหกรรมและบริการแห่ง
อนาคตที่ขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีแห่งอนาคต
ประกอบด้วย 1) อุตสาหกรรมชีวภาพ 2) อุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ครบวงจร 3) อุตสาหกรรม
และบริการดิจิทัลข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ 4) อุตสาหกรรมและบริการขนส่ง และโลจิสติกส์ และ
5) อุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ