Page 43 - kpi20767
P. 43

18


                       หลักความรับผิด มีองค์ประกอบย่อยคือ การตอบสนองความต้องการของประชาชน และ 6) องค์ประกอบ

                       หลักความคุ้มค่า มีองค์ประกอบย่อยคือ ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและการด าเนินงาน

                              2.1.5  เครื่องมือที่ใช้วัดหลักธรรมาภิบาล
                                จากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า ส่วนใหญ่การศึกษาวิจัยเรื่องธรรมาภิบาลเป็นการ

                       วิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม มาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือ 5 หมายถึง มีระดับ

                       ปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด/เห็นด้วยมากที่สุด 4 หมายถึง มีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมาก/เห็นด้วยมาก 3
                       หมายถึง มีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง/เห็นด้วยปานกลาง 2 หมายถึง มีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับ

                       น้อย/เห็นด้วยน้อย และ 1 หมายถึง มีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยที่สุด/เห็นด้วยน้อยที่สุด ในขณะที่การ

                       วิจัยเชิงคุณภาพพบสัดส่วนที่ไม่มากนัก


                       2.2 แนวคิดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
                              2.2.1  สถานการณ์และความท้าทายของประเทศไทย

                                ในปัจจุบันประเทศไทยยังคงมีประเด็นความท้าทายการพัฒนาในหลายมิติ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ

                       ที่โครงสร้างเศรษฐกิจยังไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมอย่างเต็มที่ ผลิตภาพการผลิตของภาคบริการ
                       และภาคเกษตรยังอยู่ในระดับต ่า คุณภาพและสมรรถนะของแรงงานที่ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการใน

                       การขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศ มิติทางสังคมที่การยกระดับรายได้ของประชาชน การแก้ปัญหาด้าน

                       ความยากจนและความเหลื่อมล ้า การพัฒนาคุณภาพการให้บริการและการขยายโอกาสในการเข้าถึงระบบ
                       บริการสาธารณะยังคงมีช่องว่างที่สามารถพัฒนาต่อไปได้ มิติสิ่งแวดล้อมที่การฟื้นฟูและรักษา

                       ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังเป็นประเด็นส าคัญส าหรับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและมิติ

                       ของการบริหารจัดการภาครัฐที่ยังขาดความต่อเนื่องและความยืดหยุ่นในการตอบสนองความต้องการใน
                       การแก้ปัญหาของประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

                                นอกจากนี้ สถานการณ์ที่ก าลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง

                       ประชากรที่มีสัดส่วนประชากรวัยแรงงานลดลงและประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความก้าวหน้า
                       ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด ความท้าทายใหม่ ๆ ซึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงเชิง

                       โครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ การเชื่อมโยงกันอย่าง

                       ซับซ้อนจากการรวมกลุ่มภายในภูมิภาคและการเปิดเสรีด้านต่าง ๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพ
                       ภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะก่อให้เกิดความท้าทายในการ

                       พัฒนาประเทศทั้งในมิติความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ประเทศไทยจ าเป็นต้องมีการ

                       วางแผนยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่รอบคอบและครอบคลุมเพื่อเป็นกรอบในการขับเคลื่อนการพัฒนา
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48