Page 40 - kpi20767
P. 40

15


                       ส่วนร่วม นิติธรรม ความโปร่งใส การตอบสนอง การมุ่งฉันทามติ ความเสมอภาค/ความเที่ยงธรรม

                       ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ภาระรับผิดชอบและวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ (ส านักเลขาธิการ

                       คณะรัฐมนตรี, 2561)
                                สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ให้ค าจ ากัดความ ธรรมาภิบาลว่า เป็นการ

                       ปกครอง การบริหารจัดการ การควบคุมดูแลกิจการต่างๆ ให้เป็นไปในครรลองครองธรรม นอกจากนี้ค าว่า

                       การบริหารจัดการที่ดี สามารถน าไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดย “ธรรม” ที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ได้มี
                       ความหมายเพียงแต่หลักธรรมทางศาสนา แต่ยังหมายรวมถึง ศีลธรรม คุณธรรมและความถูกต้องชอบ

                       ธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซง

                       จากองค์การภายนอก เป็นต้น (อ้างถึงใน เพลินตา ตันรังสรรค์, ม.ป.ป.)
                                ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ความหมายของแนวคิดหลักธรรมาภิบาลนั้น ได้มีหน่วยงาน และนักวิชาการ

                       ให้ความหมายไว้ไม่แตกต่างในสาระส าคัญมากนัก ส่วนใหญ่จะให้ความหมายครอบคลุมเรื่องการใช้อ านาจ

                       ของฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ที่ต้องเป็นไปอย่างยุติธรรม โปร่งใส เป็นอิสระ ตรวจสอบได้ การ
                       จัดสรรทรัพยากรต้องเป็นไปอย่างเสมอภาค มีประสิทธิภาพ ให้ความส าคัญกับการพัฒนาความเติบโต

                       ร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน (Asian Development Bank, 1995; อรพินท์

                       สพโชคชัย, 2540; อมรา พงศาพิชญ์ และคณะ, 2541; ธีรยุทธ บุญมี, 2541; ประเวศ วะสี, 2541; อานันท์
                       ปันยารชุน,2542; บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, 2542; ไชยวัฒน์ ค้ าชู, 2545)

                              2.1.3  องค์ประกอบส าคัญของหลักธรรมาภิบาล

                                แนวคิดธรรมาภิบาลเป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการปกครองการบริหารภาครัฐ การพัฒนา
                       เศรษฐกิจ การให้ความส าคัญกับกระบวนการพัฒนา โดยมีระเบียบ กฎหมาย หน่วยงานและนักวิชาการให้

                       ความเห็นเรื่ององค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลไว้ เช่น ระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้าง

                       ระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ได้อธิบายถึงองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล
                       ว่าหลักธรรมาภิบาลจะต้องมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส

                       หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิด หลักความคุ้มค่า (ระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบ

                       บริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542, 2542 : 26-27) ส าหรับกระทรวงมหาดไทยนั้น ระบุถึง
                       หลักธรรมาภิบาลว่ามี 11 องค์ประกอบ (สุดจิต นิมีตกุล 2543 : 13-24) ได้แก่ การมีส่วนร่วม ความยั่งยืน

                       ประชาชนมีความรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ชอบธรรม ความโปร่งใส ความเป็นธรรม ความสามารถที่จะพัฒนา

                       ทรัพยากรและวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ความเสมอภาค ความอดทนอดกลั้น หลักนิติ
                       ธรรม หลักความรับผิด และการเป็นผู้ดูแลแทนการควบคุม ในส่วนของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์

                       และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 (2546 : 2-16) ยังระบุเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลัก
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45