Page 37 - kpi20767
P. 37
12
บทที่ 2
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
โครงการวิจัยเรื่อง “ความท้าทายในประเด็นธรรมาภิบาลกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ”
ผู้วิจัยได้มีการทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเด็นต่าง ๆ เพื่อน าไปสู่การก าหนด
กรอบแนวคิดของการวิจัย ดังหัวข้อแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้
2.1 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมาภิบาล
2.2 แนวคิดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
2.3 การสังเคราะห์องค์ประกอบชี้วัดการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับสมดุล
และพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ
2.4 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความส าเร็จในการด าเนินงานตามหลัก
ธรรมาภิบาล
2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความส าเร็จในการด าเนินงานตามหลัก
ธรรมาภิบาล
2.6 การสังเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับสมดุล
และพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ
2.7 สมมติฐานการวิจัย
2.8 กรอบแนวคิดในการวิจัย
2.1 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมาภิบาล
2.1.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล
ธรรมาภิบาล หรือ Good Governance เป็นหลักการสากลที่ได้รับการยอมรับจากสถาบัน
นานาชาติ ว่าเป็นปัจจัยส าคัญในการท าให้องค์การประสบความส าเร็จ โดยมีการน าค าว่า Good
Governance มาใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1989 โดยปรากฏในรายงานของธนาคารโลก (World Bank) และ
ต่อจากนั้นมาก็มีหน่วยงานต่างๆ ได้ให้ความส าคัญเกี่ยวกับ Good Governance เป็นอย่างมาก เช่น
คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมส าหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (The United Nations
Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: UNESCAP) ส านักงานโครงการ
พัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Program : UNDP) และองค์การเพื่อความ