Page 38 - kpi20767
P. 38

13


                       ร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and

                       Development: OECD)

                              โดยประเทศไทยได้ให้ความส าคัญกับการน าแนวคิดธรรมาภิบาลมาปรับใช้ในระบบราชการอย่าง
                       จริงจัง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยได้รับแรงผลักดันอย่างมากจากกระแสโลกาภิวัตน์

                       ปัญหาเศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงสภาวะการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาค ประเทศไทย

                       จึงจ าเป็นต้องพัฒนา ปฏิรูปโครงสร้าง และวิธีการปฏิบัติของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพอย่างจริงจังและ
                       ต่อเนื่อง ดังนั้น จึงมีการศึกษาและน าแนวคิดของธรรมาภิบาลมาผสมผสานกับรูปแบบการปกครองที่ใช้อยู่

                       และมีการผลักดันให้เป็นหลักในการสร้างการปกครองที่ดีของประเทศ

                              จนกระทั่งปลายปี พ.ศ. 2540 เมื่อประเทศไทยต้องประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและการเงิน
                       ภาวะแวดล้อมและเงื่อนไขการกู้วิกฤตเศรษฐกิจ ท าให้รัฐบาลต้องหันมาให้ความสนใจประเด็นนี้อย่าง

                       จริงจัง โดยได้พิจารณาเห็นความจ าเป็นที่ประเทศชาติต้องมีการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ซึ่ง

                       เป็นองค์ประกอบส าคัญในการบูรณะสังคมและประเทศ เพื่อพลิกฟื้นภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ สร้างความ
                       เข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศเพื่อสามารถรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

                       ได้อย่างทันสถานการณ์ ส่งผลให้รัฐบาลได้มีหนังสือลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ขอความร่วมมือจาก

                       มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยในการด าเนินการค้นคว้า วิจัย เพื่อเสนอแนะแนวทางที่
                       เหมาะสมทั้งในระยะสั้นและระยะยาวในการแก้ปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และเพื่อเสริมสร้าง

                       และพัฒนาประเทศให้มีความยั่งยืนถาวรโดยเร็ว

                              แนวคิดธรรมาภิบาล มีความชัดเจนมากขึ้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9
                       (พ.ศ. 2545-2549) เป็นต้นมาจนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564)

                       ซึ่งเป็น 5 ปีแรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) สู่การปฏิบัติ โดยให้

                       ความส าคัญกับการปฏิรูปภาครัฐไปสู่แนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล การกระจายหน้าที่และ
                       ความรับผิดให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในทุก

                       ภาคส่วน การพัฒนาและเสริมสร้างกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลภาคส่วนต่างๆในสังคม และเสริมสร้างความ

                       เข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน การเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนให้สามารถเข้าร่วมในการ
                       บริหารจัดการประเทศ ส่งเสริมภาคธุรกิจเอกชนให้เกิดความเข้มแข็ง สุจริต การปฏิรูปกฎหมาย ระเบียบ

                       ขั้นตอน และกระบวนการเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อลดความเหลื่อมล้ า สร้างความสมดุล

                       ในการจัดสรรประโยชน์จากการพัฒนาที่เกิดจากการผนึกก าลังในการผลักดันขับเคลื่อนร่วมกันของทุกภาค
                       ส่วน และการสร้างสังคมที่มีคุณภาพและมีธรรมาภิบาล ตลอดจนความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ส านักงาน

                       คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,ออนไลน์, 2561)
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43