Page 39 - kpi20767
P. 39

14


                              2.1.2  ความหมายของธรรมาภิบาล

                                ในเรื่องการแปลค าว่า Good Governance นั้นพบว่า นักวิชาการแปลค าว่า Good

                       Governance ต่างกันไป เช่น แปลว่า ธรรมรัฐ (ธีระยุทธ บุญมี, 2541; อมรา พงศาพิชญ์, 2543) ธรรมา
                       ภิบาล (ชัยอนันต์ สมุทวณิช, 2541; อานันท์ ปันยารชุน, 2542) วิธีการปกครองที่ดี (ราชบัณฑิตยสถาน,

                       ออนไลน์, 2561) และยังมีการเรียกขานค านี้อีกหลายค า แต่ที่นิยมเรียกคือ ธรรมาภิบาล ในที่นี้ผู้วิจัยจึงใช้

                       ค าว่า Good Governance ซึ่งแปลว่า ธรรมาภิบาล ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้
                                ธรรมาภิบาลหรือ Good Governance จัดเป็นแนวคิดส าคัญในการบริหารงานและการ

                       ปกครองในปัจจุบัน หลักธรรมาภิบาลหรือการมีการบริหารจัดการที่ดีเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนให้

                       ความส าคัญและมีการน าไปปฏิบัติกันมากขึ้น เมื่อพิจารณาถึงความหมายของธรรมาภิบาล พบว่า มี
                       หน่วยงาน องค์การ และนักวิชาการให้นิยามไว้ เช่น

                                พจนานุกรมลองดู (2561, ออนไลน์) ให้ความหมายของ ธรรมาภิบาล หรือ Good

                       Governance หมายถึง หลักการที่น ามาใช้บริหารงานปกครองในปัจจุบัน เช่น We regard "good
                       governance"   as such that should help countries to achieve sustainable and self-reliant

                       development and social justice. หรือ "ธรรมาภิบาล" คือ สิ่งที่จะช่วยให้ประเทศต่างๆ สามารถบรรลุ

                       การพัฒนาอย่างยั่งยืนและพึ่งพาตนเองได้และเกิดความยุติธรรมทางสังคมหรือพจนานุกรมเคมบริดจ์
                       (2561, ออนไลน์) ให้ความหมายว่า ธรรมาภิบาล คือ the effective and responsible management

                       of an organization, a country, etc.   which includes considering society’s needs in the

                       decisions หรือ การจัดการที่มีประสิทธิภาพและรับผิดชอบขององค์การ ประเทศ และอื่นๆ ซึ่งรวมถึงการ
                       พิจารณาความต้องการของสังคมเพื่อใช้ในการตัดสินใจ

                                United  Nations Economic  and  Social Commission for  Asia and  the Pacific  :

                       UNESCAP ได้ให้นิยามค าว่า ธรรมาภิบาล (Good Governance) ว่ามีองค์ประกอบ 8 ประการ ดังนี้ การ
                       มีส่วนร่วม (Participation) นิติธรรม (Rule of Law) ความโปร่งใส (Transparency) การตอบสนอง

                       (Responsiveness) การมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) ความเสมอภาค/ความเที่ยงธรรมและ

                       ไม่ละเลยบุคคลกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดออกไปจากสังคม (Equity and Inclusiveness) ประสิทธิภาพและ
                       ประสิทธิผล (Effectiveness and Efficiency) และภาระรับผิดชอบ (Accountability) ต่อมาใน ค.ศ.

                       1997 United Nations Development Programme หรือ UNDP ได้ทบทวนและให้นิยามค าว่าธรรมา

                       บาลใหม่ว่าเป็นเรื่องของการใช้อ านาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อจัดการ
                       กิจการของประเทศชาติบ้านเมือง รวมทั้งยังได้ก าหนดคุณลักษณะของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือ

                       ธรรมาภิบาลซึ่งได้น าเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์เข้ามารวมไว้ด้วย รวม 9 ประการ ได้แก่ การมี
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44