Page 34 - kpi20767
P. 34

9


                               ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับสมดุลและ

                       พัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ หมายถึง ตัวแปรอิสระ

                       ของการวิจัยซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไป จะส่งผลให้ตัวแปรตามหรือการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์
                       ชาติในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การ

                       ภาครัฐ เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงใน

                       ทิศทางเดียวกัน (แปรตามกัน) หรืออาจเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบตรงกันข้ามกันก็ได้ (แปรผกผันกัน)
                       ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยปัจจัยจำนวน 12 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านนโยบาย 2) ปัจจัยการ

                       สื่อสารระหว่างหน่วยงาน 3) ปัจจัยด้านภารกิจ 4) ปัจจัยด้านทรัพยากร 5) ปัจจัยด้านการสื่อสาร

                       ภายนอกองค์การ 6) ปัจจัยด้านกลุ่มเป้าหมาย 7) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอก 8) ปัจจัยด้าน
                       โครงสร้างองค์การ 9) ปัจจัยด้านทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน 10) ปัจจัยด้านเครือข่ายความร่วมมือ

                       11) ปัจจัยด้านค่านิยม/วัฒนธรรม และ 12) ปัจจัยด้านผู้นำ โดยมีรายละเอียดของนิยามศัพท์ในแต่ละ

                       ปัจจัย ดังนี้
                                1) ปัจจัยด้านนโยบาย หมายถึง ยุทธศาสตร์ชาติมีการการระบุแนวทางในการปรับสมดุล

                       และพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ชัดเจน มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการปรับสมดุลและพัฒนา

                       ระบบการบริหารจัดการ แนวทางในการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการของยุทธศาสตร์
                       ชาติสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนา

                       ระบบการบริหารจัดการเป็นได้ในทางปฏิบัติ

                                2) ปัจจัยการสื่อสารระหว่างหน่วยงาน หมายถึง การที่หน่วยงานภาครัฐมีการ
                       ประสานงานที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วกับหน่วยงานที่เกี่ยวกับการดำเนินงานเรื่องการปรับสมดุล

                       และพัฒนาระบบการบริหารจัดการ มีการสื่อสารระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอหรือระหว่าง

                       ผู้กำหนดนโยบายกับหน่วยงาน หรือระหว่างองค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ ด้วยกันเองสามารถสื่อสาร
                       เข้าใจกันได้

                                3) ปัจจัยด้านภารกิจ หมายถึง การที่หน่วยงานภาครัฐมีการกำหนดอำนาจ หน้าที่ของ

                       ผู้ปฏิบัติงานอย่างชัดเจน มีการกำหนดภารกิจสอดคล้องกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบาย มี
                       การกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานชัดเจนเข้าใจง่าย และมีความยืดหยุ่น มีกฎระเบียบและข้อบังคับ

                       ในการปฏิบัติงานมีลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่มีความชัดเจนและมีการกำหนดบทลงโทษและการให้

                       รางวัลอย่างเป็นระบบ
                                4) ปัจจัยด้านทรัพยากร หมายถึง การที่หน่วยงานภาครัฐหน่วยงานได้รับงบประมาณ

                       และวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างเพียงพอ มีการจัดสรรงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ และบุคลากร

                       สำหรับการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ มีการกระจาย
                       งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ และบุคลากรสำหรับการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร

                       จัดการอย่างเหมาะสม
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39