Page 31 - kpi20767
P. 31
6
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
โครงการวิจัยเรื่อง “ความท้าทายในประเด็นธรรมาภิบาลกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ”
มีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย ดังนี้
1.4.1 ทำให้ทราบถึงสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ
ในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ
1.4.2 ทำให้ทราบถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในด้าน
การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ อันจะ
เป็นข้อมูลฐานคติในการพัฒนาผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ต่อไป
1.4.3 ทำให้ทราบถึงสภาพปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในด้าน
การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ
1.4.4 ได้รับแนวทางในการพัฒนาผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับ
สมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ
1.4.5 การศึกษาวิจัยครั้งนี้จะได้แนวทางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุล
และพัฒนาระบบการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่ความสำเร็จ
ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการพัฒนาต่าง ๆ ขององค์การภาครัฐต่อไป
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ
โครงการวิจัยเรื่อง “ความท้าทายในประเด็นธรรมาภิบาลกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ”
ผู้วิจัยได้กำหนดนิยามศัพท์เฉพาะของการวิจัยไว้ ดังนี้
องค์การ/หน่วยงานภาครัฐ หมายถึง องค์การหรือหน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นส่วนราชการระดับ
กรมหรือเทียบเท่าที่มีประเด็นความท้าทายเรื่องธรรมาภิบาลในองค์การจำนวน 3 หน่วยงาน โดยมีค่า
คะแนนคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานในปี 2560 ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 3 หน่วยงาน
ได้แก่ 1) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 2) กรมกิจการผู้สูงอายุ และ 3) กรมการท่องเที่ยว และ
หน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 3 หน่วยงาน ได้แก่ 1) กรมบังคับคดี 2) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ
3) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ธรรมาภิบาล หมายถึง ระบบบริหารการบ้านเมืองและสังคมที่ดีขององค์การ/หน่วยงาน
ภาครัฐในประเทศไทย ซึ่งประกอบองค์ประกอบในการวัดจำนวน 6 องค์ประกอบ ได้แก่
1) องค์ประกอบหลักนิติธรรม 2) องค์ประกอบหลักคุณธรรม 3) องค์ประกอบหลักความโปร่งใส
4) องค์ประกอบหลักการมีส่วนร่วม 5) องค์ประกอบหลักความรับผิด และ 6) องค์ประกอบหลักความ
คุ้มค่า