Page 26 - kpi20767
P. 26

1


                                                            บทที่  1




                                                             บทนำ



                       1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา



                               สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงจากยุคเกษตรกรรมก้าวเข้าสู่ยุคปัจจุบันหรือยุคอุตสาหกรรม
                       หนัก การเติบโตในด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และเทคโนโลยี ทำให้

                       ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนไทยดีขึ้นก็จริง แต่ในขณะเดียวกันความเติบโตดังกล่าวได้ทิ้งปัญหา

                       ต่าง ๆ ไว้จำนวนมาก เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาคอร์รัปชัน ปัญหาความเสื่อมโทรมของ
                       สภาพแวดล้อม ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของคนในสังคม ประกอบกับอิทธิพลของปัจจัยภายนอก

                       ประเทศ เช่น ปัญหาภัยพิบัติ ปัญหาการกีดกันทางการค้า ปัญหาความขัดแย้ง ได้กดดันและผลักดันให้

                       ชีวิตความเป็นอยู่และความสัมพันธ์ของคนในสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งมีผลกระทบทำให้
                       เกิดปัญหาสังคมด้านต่าง ๆ ตามมามากมาย หลายส่วนกลายเป็นปัญหาสาธารณะที่จำเป็นต้องได้รับ

                       การดูแลและปรับปรุงแก้ไข (โกวิทย์ กังสนันท์, 2552: 27)

                               การบริหารจัดการภาครัฐไทยในอดีตที่ให้ความสำคัญกับการกำกับควบคุม สายการบังคับ
                       บัญชา ประชาชนมีส่วนร่วมทั้งในการกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ และการติดตาม

                       ประเมินผลในขอบเขตที่จำกัด การบริหารจัดการภาครัฐไทยให้ความสำคัญกับการจัดบริการสาธารณะ

                       โดยผ่านกลไกของหน่วยงานของรัฐเพียงอย่างเดียว บทบาทของนักบริหารรัฐกิจเองก็ทำหน้าที่เพียง
                       วางแผน จัดองค์การ จัดหาบุคลากร สั่งการ ประสานงาน จัดทำงบประมาณ รายงานผลการทำงาน

                       รูปแบบการดำเนินงานที่องค์การภาครัฐต่างดำเนินการกันอยู่เป็นปกติไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เข้ามา

                       ท้าทาย และตอบสนองความต้องการของประชาชน (ถวิลวดี  บุรีกุล, 2546: 1) หรือไม่สามารถอำนวย
                       ประโยชน์ให้กับประชาชนได้อย่างเต็มที่ตามวัตถุประสงค์ขององค์การภาครัฐที่ได้วางไว้ แม้ว่าตลอด 2

                       ทศวรรษที่ผ่านมานับจากประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

                       ประเทศไทยจะมีการปฏิรูประบบราชการมาอย่างต่อเนื่องโดยมีการปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการ
                       โดยนำแนวคิดการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ การบริการภาครัฐแนวใหม่ มีการกระจายอำนาจการ

                       บริหารจัดการจากส่วนกลางไปยังส่วนท้องถิ่น มีการนำนวัตกรรมการบริหารจัดการใหม่ ๆ เช่น การ
                       จัดจ้างคนนอกเข้าดำเนินการแทนรัฐ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การจัดตั้งองค์การในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น

                       องค์การมหาชน หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ แต่ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมไทยยังคงสะสม ส่งผลกระทบต่อ

                       คุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (สมชาย น้อยฉ่ำ, นิคม เจียรจินดา และชัชวลิต
                       เลาหวิเชียร, 2559: 38)
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31