Page 28 - kpi20767
P. 28

3


                               ทั้งนี้ จากข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐก็ยังคง

                       ปรากฏในระดับสูง ดังเช่น จากการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน

                       ภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปี พ.ศ. 2560 โดยสำนักงาน
                       คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ พบว่า มีส่วนราชการระดับกรมที่มีค่า

                       คะแนนคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานไม่ผ่านเกณฑ์เป็นจำนวนมากถึง 35 หน่วยงาน

                       (ITA < 80 คะแนน = ไม่ผ่านเกณฑ์) คิดเป็นร้อยละ 23.81 ของส่วนราชการระดับกรมทั้งหมดจำนวน
                       147 หน่วยงาน (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ, 2560)

                       นอกจากนี้จากผลการสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทย พ.ศ. 2561 (Corruption Situation

                       Index : CSI) ยังพบว่า ดัชนีปัญหาและความรุนแรงการคอร์รัปชันของภาครัฐ มีการปรับตัวขึ้น
                       มากกว่าปีที่แล้ว 5 จุด เป็น 48 จุด ซึ่งมีอัตราการเพิ่มตัวของดัชนีดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 10.42 โดย

                       กลุ่มที่มีการคอร์รัปชันมากที่สุดได้แก่ ข้าราชการ/ภาครัฐ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 25.70 ของกลุ่มที่สำรวจ

                       ทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงการทุจริตและประพฤติมิชอบจากการละเลยหลักธรรมาภิบาลในบาง
                       หน่วยงานขององค์การภาครัฐ (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ,

                       2560)

                               จากสภาพการณ์ดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ (2561: 10) จึงได้มีการ
                       กำหนดยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ไว้ในยุทธศาสตร์

                       ชาติ ( พ.ศ. 2561-2580) ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญเพื่อปรับเปลี่ยนภาครัฐให้

                       มีความทันสมัย มีขนาดที่เหมาะสม มีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ มุ่งผลประโยชน์ส่วนรวม
                       ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีการใช้หลักธรรมาภิบาลเป็น

                       กรอบในการขับเคลื่อนหน่วยงานให้มีความโปร่งใส ปลอดจากกการทุจริตและประพฤติมิชอบ

                       (ราชกิจจานุเบกษา, 2561: 1-5) ซึ่งเป็นที่เชื่อกันว่าหากประเทศไทยมีการนำธรรมาภิบาลไปปรับใช้
                       กับการปฏิบัติงานในภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรมแล้วจะทำให้ประเทศมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดี และ

                       เกิดความเป็นธรรมในสังคม เศรษฐกิจและการเมือง (วศิน ซื่อสุทธจิตและทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร,

                       2559: 105)
                               ดังนั้น การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการขับเคลื่อนการบริหารราชการเพื่อให้การ

                       ดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาตินั้นจึงมีความสำคัญ สถาบัน

                       พระปกเกล้า ได้เล็งเห็นความจำเป็นและความสำคัญที่จะต้องมีโครงการวิจัยเรื่อง “ความท้าทายใน
                       ประเด็นธรรมาภิบาลกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ” โดยมีคำถามของโครงการวิจัยคือ องค์การ

                       ภาครัฐมีการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) ในยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ด้านการปรับ

                       สมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ มากน้อยอย่างไร องค์การภาครัฐนั้นมีปัญหา
                       อุปสรรคในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) ในยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ด้านการ

                       ปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐหรือไม่ อย่างไร และองค์การภาครัฐจะมีแนวทาง
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33