Page 44 - kpi20767
P. 44
19
ประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน (ส านักงานเลขานุการของคณะกรรมการ
ยุทธศาสตร์ชาติ, 2561)
2.2.2 ความเป็นมาของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 65 ได้ก าหนดให้รัฐพึงจัดให้มี
ยุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการ
จัดท าแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว
โดยให้เป็นไปตามที่ก าหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดท ายุทธศาสตร์ชาติ และต่อมาได้มีการตรา
พระราชบัญญัติการจัดท ายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 ก าหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์
ชาติเพื่อรับผิดชอบในการจัดท าร่างยุทธศาสตร์ชาติ ก าหนดวิธีการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
จัดท าร่างยุทธศาสตร์ชาติในการติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผล รวมทั้งก าหนดมาตรการ
ส่งเสริม และสนับสนุนให้ประชาชนทุกภาคส่วนด าเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) เป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทยตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง
ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง” ดังนั้น
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดท ายุทธศาสตร์ชาติด้านต่างๆ รวม 6 คณะ อัน
ประกอบด้วย คณะกรรมการจัดท ายุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง คณะกรรมการจัดท ายุทธศาสตร์ชาติ
ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน คณะกรรมการจัดท ายุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและ
เสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ คณะกรรมการจัดท ายุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความ
เสมอภาคทางสังคม คณะกรรมการจัดท ายุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็น
มิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการจัดท ายุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการ
บริหารจัดการภาครัฐ เพื่อรับผิดชอบในการด าเนินการจัดท าร่างยุทธศาสตร์ชาติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่ก าหนด ตลอดจนได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และหน่วยงานของ
รัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาจัดท าร่างยุทธศาสตร์ชาติตามที่กฎหมายก าหนด (ส านักงาน
เลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ, 2561)
2.2.3 สาระส าคัญของยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580
ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) มีสาระส าคัญจ านวน 6 ด้าน ได้แก่
1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
2) ยุทธศาสตร์การสร้างความสามารถในการแข่งขัน
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน