Page 45 - kpi20767
P. 45
20
4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม
5) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ
6) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
โดยยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) แต่ละด้านมีรายละเอียด ดังนี้ (ราชกิจจานุเบกษา,
2561)
2.2.3.1 ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง มีเป้าหมายการพัฒนาที่ส าคัญ คือ ประเทศชาติ
มั่นคง ประชาชนมีความสุข เน้นการบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัย
เอกราช อธิปไตย และมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ สังคม ชุมชน มุ่งเน้นการพัฒนา
คน เครื่องมือ เทคโนโลยี และ ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ให้มีความพร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคาม
และภัยพิบัติได้ทุกรูปแบบและทุกระดับความรุนแรง ควบคู่ไปกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านความ
มั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ใช้กลไกการแก้ไขปัญหา แบบบูรณาการทั้งกับส่วน
ราชการ ภาคเอกชน ประชาสังคม และองค์การที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศทั่ว
โลกบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล ซึ่งมีตัวชี้วัดประกอบด้วย
1) ความสุขของประชากรไทย
2) ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
3) ความพร้อมของกองทัพ หน่วยงานด้านความมั่นคง และการมีส่วนร่วมของ
ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคง
4) บทบาทและการยอมรับในด้านความมั่นคงของไทยในประชาคมระหว่าง
ประเทศ
5) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม
โดยประเด็น ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่
1. การรักษาความสงบภายในประเทศ เพื่อสร้างเสริมความสงบเรียบร้อย และ
สันติสุขให้เกิดขึ้นกับประเทศชาติบ้านเมือง โดย 1) การพัฒนาและเสริมสร้างคนในทุกภาคส่วนให้มีความ
เข้มแข็ง มีความพร้อมตระหนักในเรื่องความมั่นคง และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา 2) การพัฒนาและ
เสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ 3) การพัฒนาและเสริมสร้างการเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มีเสถียรภาพและมีธรรมาภิบาล เห็นแก่ประโยชน์ของ
ประเทศชาติมากกว่าประโยชน์ส่วนตน และ 4) การพัฒนาและเสริมสร้างกลไกที่สามารถป้องกันและขจัด
สาเหตุของประเด็นปัญหาความมั่นคงที่ส าคัญ