Page 41 - kpi20767
P. 41
16
ธรรมาภิบาล ประกอบด้วย การบริหารราชการเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนการบริหารราชการโดยมุ่งให้
เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อการปฏิบัติงาน การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า การลด
ขั้นตอนในการบริหารราชการ การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
ประชาชนได้รับการอ านวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการอย่างแท้จริง รวมทั้งการ
ประเมีนผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ าเสมอ
ตามระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารการบ้านเมืองและสังคมที่ดี
พ.ศ. 2542 แบ่งองค์ประกอบของธรรมาภิบาล หรือการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ออกเป็น
6 ประการ ดังนี้ (ราชกิจจานุเบกษา, 2542)
1) หลักนิติธรรม (Rule of Law) เป็นการตรากฎหมายและกฎข้อบังคับให้ทันสมัยและเป็น
ธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคม อันจะท าให้สังคมยินยอมพร้อมใจกันปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับ
เหล่านั้นโดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่ตามอ าเภอใจหรืออ านาจของตัวบุคคล มีการ
บังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ไม่มีมาตรฐานเชิงซ้อน (Double Standard) ไม่ให้
มีการใช้กฎหมายไปแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ มีกรอบการปฏิบัติที่เคารพสิทธิและเสรีภาพของ
ประชาชน
2) หลักคุณธรรม (Ethics) คือ การไม่ทุจริต ไม่ประพฤติผิดวินัย ไม่กระท าผิดมาตรฐาน
วิชาชีพและจรรยาบรรณ รวมถึงการมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ปลอดจากการคอร์รัปชันหรือฉ้อราษฎร์
บังหลวง การไม่ละเมิดจริยธรรมหรือธรรมเนียมปฏิบัติและกฎหมาย เป็นการยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม
โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่สังคมและส่งเสริม
สนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์จริงใจ อดทน มีระเบียบวินัย
ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจ าชาติ
3) หลักความโปร่งใส (Transparency) เป็นการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนใน
ชาติโดยปรับปรุงกลไกการท างานขององค์การทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่
เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมี
กระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้
4) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ กระบวนการที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียมีโอกาสแสดงทัศนะ และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เป็นการ
เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาส าคัญของประเทศ ไม่ว่า
ด้วยการแจ้งความเห็นการไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ หรืออื่นๆ