Page 52 - kpi20767
P. 52
27
2.2.3.5 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
มีเป้าหมายการพัฒนาที่ส าคัญเพื่อน าไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งมิติด้านสังคม
เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกันทั้งภายในและภายนอก
ประเทศอย่างบูรณาการใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการก าหนดกลยุทธ์และแผนงาน และการให้ทุกฝ่ายที่
เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในแบบทางตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเป็นการด าเนินการบน
พื้นฐานการเติบโตร่วมกันไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต โดยให้ความส าคัญกับ
การสร้างสมดุลทั้ง 3 ด้าน อันจะน าไปสู่ความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไปอย่างแท้จริง
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
มีตัวชี้วัดซึ่งประกอบด้วย ดังนี้
1) พื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2) สภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมได้รับการพื้นฟู
3) การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ
4) ปริมาณก๊าซเรือนกระจก มูลค่าเศรษฐกิจฐานชีวภาพ
ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อมประกอบด้วย 6 ประเด็น ได้แก่
1. สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว โดย 1) เพิ่มมูลค่าของ
เศรษฐกิจฐานชีวภาพให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 2) อนุรักษ์
และพื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในและนอกถิ่นก าเนิด 3) อนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น ้าล าคลองและแหล่ง
น ้าธรรมชาติทั่วประเทศ 4) รักษาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 5) ส่งเสริมการ
บริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
2. สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล โดย 1) เพิ่มมูลค่าของ
เศรษฐกิจฐานชีวภาพทางทะเล 2) ปรับปรุง พื้นฟู และสร้างใหม่ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทั้งระบบ
3) พื้นฟูชายหาดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ชายฝั่งทะเลได้รับการป้องกันและแก้ไขทั้งระบบ และมีนโยบาย
การจัดการชายฝั่งแบบบูรณาการอย่างเป็นองค์รวม และ 4) พัฒนาและเพิ่มสัดส่วนกิจกรรมทางทะเลที่
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3. สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ โดย
1) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2) มีการปรับตัวเพื่อลดความสูญเสียและเสียหายจากภัยธรรมชาติและ