Page 54 - kpi20767
P. 54

29


                       รัฐที่ท าหน้าที่ในการก ากับหรือในการให้บริการ ยึดหลักธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรมการท างานให้มุ่ง

                       ผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม มีความทันสมัย และพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ

                       โลกอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการน านวัตกรรมเทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบ การท างานที่เป็น
                       ดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า และปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากล รวมทั้งมีลักษณะเปิดกว้าง

                       เชื่อมโยงถึงกันและเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน

                       ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมกันปลูกฝังค่านิยมความชื่อสัตย์
                       สุจริต ความมัธยัสถ์ และสร้างจิตส านึกในการปฏิเสธไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างสิ้นเชิง

                       นอกจากนั้น กฎหมายต้องมีความชัดเจน มีเพียงเท่าที่จ าเป็นมีความทันสมัย มีความเป็นสากลมี

                       ประสิทธิภาพ และน าไปสู่การลดความเหลื่อมล ้าและเอื้อต่อการพัฒนา โดยกระบวนการยุติธรรมมีการ
                       บริหารที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และการอ านวยความยุติธรรมตามหลักนิติธรรม

                                       ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

                       มีตัวชี้วัดประกอบด้วย ดังนี้
                                         1) ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะของภาครัฐ

                                         2) ประสิทธิภาพของการบริการภาครัฐ

                                         3) ระดับความโปร่งใส การทุจริต ประพฤติมิชอบและ
                                         4) ความเสมอภาคในกระบวนการยุติธรรม

                                       โดยประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ

                       ภาครัฐ ประกอบด้วย 8 ประเด็น ได้แก่
                                         1. ภาครัฐที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตอบสนองความต้องการ และให้บริการ

                       อย่างสะดวกรวดเร็ว โปร่งใส โดย 1) การให้บริการสาธารณะของภาครัฐ ได้มาตรฐานสากลและเป็นระดับ

                       แนวหน้าของภูมิภาค และ 2) ภาครัฐมีความเชื่อมโยงในการให้บริการสาธารณะต่าง ๆ ผ่านการน า
                       เทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้

                                         2. ภาครัฐบริหารงานแบบบูรณาการโดยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมาย และ

                       เชื่อมโยงการพัฒนาในทุกระดับ ทุกประเด็น ทุกภารกิจ และทุกพื้นที่ โดย 1) ให้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นกลไก
                       ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ 2) ระบบการเงินการคลังประเทศสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ

                       และ 3) ระบบติดตามประเมีนผลที่สะท้อนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติในทุกระดับ

                                         3. ภาครัฐมีขนาดเล็กลง เหมาะสมกับภารกิจ ส่งเสริมให้ประชาชนและทุกภาค
                       ส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ โดย 1) ภาครัฐมีขนาดที่เหมาะสม 2) ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการ
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59