Page 58 - kpi20767
P. 58

33


                                โดยแนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในการวัดหลักธรรมาภิบาล ได้แก่ กรอบ

                       การปฏิบัติงานตามแนวคิดของระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมือง

                       และสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 (2542) และกรอบการปฏิบัติงานตามแนวคิดของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย
                       หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 (2546) ที่ได้อธิบายถึง ความเป็นมา

                       ความส าคัญ องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล ตัวชี้วัด ตลอดจนนิยามความหมายต่างๆ ของหลัก

                       ธรรมาภิบาลในแต่ละองค์ประกอบ แนวคิดของ ถวิลวดี บุรีกุล (2546) ที่ได้อธิบายถึงหลักธรรมาภิบาล ใน
                       ฐานะที่เป็นหลักการเพื่อการบริหารรัฐกิจแนวใหม่ และจากกรอบการปฏิบัติงานตามแนวคิดของส านักงาน

                       ก.พ.ร. (2556) ส านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (2561) และส านักงานเลขานุการของคณะกรรมการ

                       ยุทธศาสตร์ชาติ (2561) ที่ได้อธิบายถึงความส าคัญ ที่มา องค์ประกอบการวัดธรรมาภิบาล และนิยาม
                       ความหมายต่างๆ ตลอดจนพัฒนาการของหลักธรรมาภิบาลในประเทศไทย นอกจากนี้ จากการทบทวน

                       งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนิยาม และองค์ประกอบในการวัดหลักธรรมาภิบาล ผู้วิจัยพบว่าองค์ประกอบการ

                       วัดหลักธรรมาภิบาลประกอบด้วยองค์ประกอบในการวัดจ านวน 6 ด้านได้แก่ ด้านนิติธรรม ด้านคุณธรรม
                       ด้านความโปร่งใส ด้านการมีส่วนร่วม ด้านความรับผิด และด้านความคุ้มค่า (ณัฐ วิมลพีรพัฒนา, 2556;

                       อลงกต แผนสนิท, 2557; ประณีต ม่วงนวล, 2558; ศรีสกุล เจริญศรี, 2558; ชาญยุทธ พวงก าหยาด,

                       2558; ปราณี รุ่งรักสกุล และคณะ, 2558; สมชาย น้อยฉ่ า, นิคม เจียรจินดา และชัชวลิต เลาหวิเชียร,
                       2559) โดยผลจากการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าว ผู้วิจัยพบว่าได้มีการก าหนดองค์ประกอบของหลัก

                       ธรรมาภิบาลไม่แตกต่างกัน โดยสามารถสรุปได้ว่าองค์ประกอบในการวัดหลักธรรมาภิบาล ประกอบด้วย

                       องค์ประกอบในการวัดจ านวน 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) องค์ประกอบการวัดหลักธรรมาภิบาลในด้านหลัก
                       นิติธรรม 2) องค์ประกอบการวัดหลักธรรมาภิบาลในด้านหลักคุณธรรม 3) องค์ประกอบการวัดหลักธรร

                       มาภิบาลในด้านหลักความโปร่งใส 4) องค์ประกอบการวัดหลักธรรมาภิบาลในด้านหลักการมีส่วนร่วม 5)

                       องค์ประกอบการวัดหลักธรรมาภิบาลในด้านหลักความรับผิด และ 6) องค์ประกอบการวัดหลักธรรมาภิ
                       บาลในด้านหลักความคุ้มค่า ดังแสดงในตารางที่ 2.1 เพื่อน าไปสู่การก าหนดตัวชี้วัดและข้อค าถามใน

                       เครื่องมือการวิจัยต่อไป
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63