Page 62 - kpi20767
P. 62

37


                  แห่งชาติ จากการศึกษาของ ชาญยุทธ พวงก าหยาด (2558) เรื่องการน าหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลใน

                  พื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 จากการศึกษาของ ปราณี รุ่งรักสกุล และคณะ (2558) เรื่องการบริหารงานพัสดุตาม

                  หลักธรรมาภิบาลและจากการศึกษาของ ประณีต ม่วงนวล (2558) เรื่องหลักธรรมาภิบาลในมิติความสัมพันธ์
                  ระหว่างการเมืองภาคประชาชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี พบว่า มีนิยามความหมายใน

                  องค์ประกอบด้านความโปร่งใส ในลักษณะที่ไม่แตกต่างกัน ได้แก่ การที่โครงสร้างองค์การมีความโปร่งใส การให้

                  คุณให้โทษต่างๆ มีความโปร่งใส และการมีความโปร่งใสด้านการเปิดเผยข้อมูล
                            4) การสังเคราะห์ตัวชี้วัด และนิยามขององค์ประกอบด้านหลักการมีส่วนร่วม จากการศึกษากรอบการ

                  ปฏิบัติงานตามแนวคิดของระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี

                  พ.ศ. 2542 (2542) กรอบการปฏิบัติงานตามแนวคิดของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร
                  กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 (2546) ที่ได้อธิบายถึง ตัวชี้วัดหลักธรรมาภิบาลในองค์ประกอบด้านหลักการมี

                  ส่วนร่วม และจากแนวคิดของ บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และ บุญมี ลี้ (2544) ที่ได้อธิบายถึงตัวชี้วัดธรรมาภิบาลใน

                  ฐานะที่เป็นองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในการวัดหลักธรรมาภิบาลในองค์ประกอบด้านหลักการมีส่วน
                  ร่วมในแนวทางเดียวกันว่า เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในงานต่างๆ ขององค์การ รวมถึงการรับฟัง

                  ความคิดเห็นจากประชาชน และสมาชิกในองค์การ นอกจากนี้ จากการศึกษาของ สมชาย น้อยฉ่ า นิคม เจียรจินดา

                  และชัชวลิต เลาหวิเชียร (2559) เรื่องธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลในการบริหารงานตามหลักการประเมินแห่งดุลย
                  ภาพของเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อ าเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จากการศึกษาของ ศรีสกุล เจริญศรี (2558)

                  เรื่องธรรมาภิบาล วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลองค์การของหน่วยงานในสังกัดส านักงานผู้บัญชาการต ารวจ

                  แห่งชาติ จากการศึกษาของ ชาญยุทธ พวงก าหยาด (2558) เรื่องการน าหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลใน
                  พื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 และจากการศึกษาของ ปราณี รุ่งรักสกุล และคณะ (2558) เรื่องการบริหารงานพัสดุ

                  ตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า นิยามขององค์ประกอบด้านหลักการส่วนร่วมเป็นกระบวนการซึ่งประชาชนหรือผู้มี

                  ส่วนได้ส่วนเสียได้มีโอกาสแสดงทัศนะ และเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
                  รวมทั้งมีการน าความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาก าหนดนโยบาย และการตัดสินใจของรัฐ ทั้งอย่าง

                  เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ในขณะที่จากการศึกษาของ ประณีต ม่วงนวล (2558) เรื่องหลักธรรมาภิบาลในมิติ

                  ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองภาคประชาชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี และจากการศึกษาของ
                  อลงกต แผนสนิท (2557) เรื่องการน านโยบายไปปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัด

                  นครราชสีมา พบว่า มีการนิยามความหมายขององค์ประกอบด้านหลักการมีส่วนร่วมในลักษณะที่ไม่แตกต่างกัน

                  และมีการเพิ่มเติมถึงความหมายว่าเป็นกระบวนการสื่อสารในระบบเปิด เป็นการสื่อสารสองทาง
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67