Page 63 - kpi20767
P. 63

38


                            5) การสังเคราะห์ตัวชี้วัด และนิยามขององค์ประกอบด้านหลักความรับผิด จากการศึกษากรอบการ

                  ปฏิบัติงานตามแนวคิดของระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี

                  พ.ศ. 2542 (2542) กรอบการปฏิบัติงานตามแนวคิดของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร
                  กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 (2546) ที่ได้อธิบายถึง ตัวชี้วัดหลักธรรมาภิบาลในองค์ประกอบด้านหลักความรับ

                  ผิด และจากแนวคิดของ บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และ บุญมี ลี้ (2544) ที่ได้อธิบายถึงตัวชี้วัดธรรมาภิบาลในฐานะที่

                  เป็นองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในการวัดหลักธรรมาภิบาลในองค์ประกอบด้านหลักความรับผิดว่า
                  ประกอบด้วย การตอบสนองความต้องการของประชาชน และการให้คุณให้โทษ นอกจากนี้ จากการศึกษาของ

                  สมชาย น้อยฉ่ า นิคม เจียรจินดา และชัชวลิต เลาหวิเชียร (2559) เรื่องธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลในการ

                  บริหารงานตามหลักการประเมินแห่งดุลยภาพของเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อ าเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
                  จากการศึกษาของ ศรีสกุล เจริญศรี (2558) เรื่องธรรมาภิบาล วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลองค์การของ

                  หน่วยงานในสังกัดส านักงานผู้บัญชาการต ารวจแห่งชาติ จากการศึกษาของ ชาญยุทธ พวงก าหยาด (2558) เรื่อง

                  การน าหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 และจากการศึกษาของ ปราณี รุ่งรัก
                  สกุล และคณะ (2558) เรื่องการบริหารงานพัสดุตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า นิยามขององค์ประกอบด้านหลัก

                  ความรับผิดได้แก่ ความสามารถตอบค าถามและชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัย ความรับผิดในผลงาน หรือปฏิบัติหน้าที่ให้

                  บรรลุผลตามเป้าหมาย ตามพันธกิจ รวมทั้งการตอบสนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ ในขณะที่จากการศึกษา
                  ของ ประณีต ม่วงนวล (2558) เรื่องหลักธรรมาภิบาลในมิติความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองภาคประชาชนกับองค์กร

                  ปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี และจากการศึกษาของอลงกต แผนสนิท (2557) เรื่องการน านโยบายไปปฏิบัติ

                  ตามหลักธรรมาภิบาลของราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า มีการนิยามความหมายของ
                  องค์ประกอบด้านหลักความรับผิดในลักษณะที่ไม่แตกต่างกัน และมีการเพิ่มเติมถึงความหมายว่ารวมถึงการยอมรับ

                  ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน และการมีความพร้อมที่จะถูกตรวจสอบได้

                            6) การสังเคราะห์ตัวชี้วัด และนิยามขององค์ประกอบด้านหลักความคุ้มค่า จากการศึกษากรอบการ
                  ปฏิบัติงานตามแนวคิดของระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี

                  พ.ศ. 2542 (2542) กรอบการปฏิบัติงานตามแนวคิดของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร

                  กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 (2546) ที่ได้อธิบายถึง ตัวชี้วัดหลักธรรมาภิบาลในองค์ประกอบด้านหลักความ
                  คุ้มค่า และจากแนวคิดของ บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และ บุญมี ลี้ (2544) ที่ได้อธิบายถึงตัวชี้วัดธรรมาภิบาลในฐานะ

                  ที่เป็นองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในการวัดหลักธรรมาภิบาลในองค์ประกอบด้านหลักความคุ้มค่าว่า

                  ประกอบด้วย การมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และการมีความยั่งยืน นอกจากนี้ จากการศึกษาของ สมชาย
                  น้อยฉ่ า นิคม เจียรจินดา และชัชวลิต เลาหวิเชียร (2559) เรื่องธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลในการบริหารงานตาม

                  หลักการประเมินแห่งดุลยภาพของเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อ าเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จากการศึกษาของ
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68