Page 202 - kpi20767
P. 202

177



                                   จากผลการสัมภาษณ์ด้านความโปร่งใสของกรมการท่องเที่ยวพบว่า กรมการ
                       ท่องเที่ยวมีการใช้เทคโนโลยีในการท างานเพื่อสร้างความโปร่งใส เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดการกับ

                       ข้อร้องเรียน สอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงปริมาณที่พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่าหน่วยงาน

                       ของตนมีการก าหนดช่องทาง/วิธีการในการติดต่อร้องเรียนกับหน่วยงาน มีเครื่องมือในการให้
                       ประชาชนแสดงความคิดเห็นที่สะดวก เช่น กล่องรับฟังความคิดเห็นหรือการแจ้งผ่านสื่อออนไลน์ มี

                       การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในเรื่องภารกิจที่ให้บริการทางเว็บไซด์หรือสื่ออื่น ๆ ให้ประชาชนทราบว่า

                       ก าลังด าเนินการท าอะไร อย่างไร ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ อย่างไรก็ตามในด้านความโปร่งใสใน
                       ประเด็นเรื่อง การแต่งตั้งให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจรับงานของหน่วยงาน การ

                       เปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมด าเนินงานต่าง ๆ ของหน่วยงาน

                       การด าเนินงานตามโครงการที่ได้ท าการประชาคมไว้ตามล าดับก่อนหลัง การแจ้งข้อมูลขั้นตอนการ
                       ปฏิบัติงานในการให้บริการประชาชนและระยะเวลาในการให้บริการในแต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจน

                       ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นอยู่ในล าดับสี่ล าดับสุดท้าย ซึ่งชี้ให้เห็นว่าประเด็นทั้งสี่นั้นยังสามารถ

                       พัฒนาให้หน่วยงานเกิดความโปร่งใสมากขึ้น อนึ่ง ประเด็นทั้งสี่ดังกล่าวที่มีค่าคะแนนต่ ากว่าด้านอื่นๆ
                       อาจเป็นเพราะกรมการท่องเที่ยวเป็นกรมด้านวิชาการ มิใช่กรมที่สัมผัสกับประชาชนโดยตรง ดังนั้นจึง

                       มีข้ดจ ากัดในการด าเนินการตามประเด็นที่กล่าวมาแล้ว


                                 4. หลักการมีส่วนร่วม

                                     สมัยก่อน กรมการท่องเที่ยวมีการตั้งคณะอ านวยการและคณะกรรมการมาตรฐาน
                       ต่าง ๆ เนื่องจากต้องการสร้างการยอมรับ โดยเปิดโอกาสให้กรรมการมีส่วนร่วมตั้งแต่แรก เช่น กรม

                       มาตรฐานด้านการเกษตร  อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีการชะลอการด าเนินการออกไปเนื่องจากมีการ

                       เปลี่ยนแปลงผู้บริหารของกรม  ส าหรับการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานภายนอก นั้น กรมการท่องเที่ยว
                       ต้องท างานบูรณาการกับหน่วยงานจ านวนมาก เนื่องจากการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมีผลกระทบต่อคน

                       ในพื้นที่โดยขั้นตอนการจัดท ามาตรฐานการท่องเที่ยวไทย เริ่มจากการรวบรวมข้อมูล จัดท าร่าง

                       มาตรฐาน  น าเสนอคณะอนุกรรมการมาตรฐาน  ด าเนินการศึกษาเพิ่มเติม ประชุมภาคีที่เกี่ยวข้อง จัด
                       ประชาพิจารณ์ พิจารณาผลการประชาพิจารณ์ จัดท าร่างเอกสารมาตรฐาน ทดสอบตัวชี้วัด พิจารณา

                       แบบตรวจประเมิน เสนอคณะกรรมการอ านายการมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย ประกาศใช้เป็น

                       มาตรฐาน ประชาสัมพันธ์ การตรวจประเมินและรับรองมาตรฐาน และมอบเครื่องหมายรับรอง
                       มาตรฐาน


                                    “...การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ให้เราส ารวจทั้งหมด ไม่สามารถ กรมไม่มีศักยภาพ

                              ส่วนใหญ่เจ้าของพื้นที่ หรือ ผู้ว่า เขาต้องแสดงให้เราเห็น เสนอโครงการหรือท าหนังสือแจ้ง
   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207