Page 204 - kpi20767
P. 204
179
จะช่วย เช่น กรมมาตรฐานด้านการเกษตร ไปคุยกับกรมส่งเสริมด้านการเกษตร ให้เขาเอาไป
ให้ผู้ประกอบการท า”
(ผู้ให้สัมภาษณ์ 1)
“...เวลาท าโครงการมีการประชาพิจารณ์ เช่น มาตรฐานการท่องเที่ยว เชิญ นักธุรกิจ
ประชาชน นักวิชาการ มาประชาพิจารณ์ ตอนนี้ จัดท ามาตรฐาน แบ่งเป็น 2 กอง กองบริการ
และมาตรฐานท่องเที่ยวชุมชน ต้องมีการปรับปรุงทุกรอบปี 4-5 ปี ครบรอบการปรับปรุง
หากสถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไป จ้างที่ปรึกษา รับฟังประชาชน เอากลับไปประชา
พิจารณ์อีกครั้ง เช่น มาตรฐานปางช้าง ต้องท ามาตรฐาน เช่น มาตรฐานความปลอดภัย แก่
นักท่องเที่ยว ควาญช้าง ช้าง เป็นต้น”
(ผู้ให้สัมภาษณ์ 2)
ในด้านหลักการมีส่วนร่วมผลการสัมภาษณ์พบว่า กรมการท่องเที่ยวให้ความส าคัญ
กับการมีส่วนร่วมตามกฎหมายที่ก าหนด โดยเฉพาะการจัดท ามาตรฐานการท่องเที่ยว ที่ต้องมี
คณะกรรมการและมีผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเข้ามาเกี่ยวข้อง อีกทั้งการท างานในพื้นที่ซึ่งกรม
ไม่มีบุคลากรระดับภูมิภาคด้วยแล้ว ท าให้กรมการท่องเที่ยวต้องอาศัยความร่วมมือจากน่วยงานต่างๆ
ในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงปริมาณที่พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม
เห็นว่ากรมการท่องเที่ยวมีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชนในพื้นที่และ
หน่วยงานอื่น ๆมีการน าความคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่ได้ไปปฏิบัติอยู่เสมอ มีการประชาสัมพันธ์อย่าง
ทั่วถึงให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการด าเนินงานด้านต่าง ๆ ของหน่วยงาน อย่างไรก็ตามในด้าน
ในการท าประชาพิจารณ์โครงการของกรมการท่องเที่ยว ในด้านความหลากหลายของผู้เข้าร่วมประชุม
ยังมีข้อจ ากัด อาจเนื่องจากกรมการท่องเที่ยวมีข้ดจ ากัดเรื่องงบประมาณในการจัดกิจกรรมกับ
ประชาชนในพื่นที่และการประชาสัมพันธ์ที่มากและกว้างขวางพียงพอ
5. หลักความรับผิด
ในการจัดบริการหรือจัดท ามาตรฐาน ก็คือ หลักความรับผิด เนื่องจากกรมการท่องเที่ยว
เป็นหน่วยงานที่ออกมาตรฐานให้กับผู้ประกอบการ ดังนั้น กรมการท่องเที่ยวคือคนที่รับผิดชอบ
กล่าวคือ กรมการท่องเที่ยวต้องรับผิดชอบต่อนักท่องเที่ยวไปใช้บริการ
“...เวลาจัดซื้อจัดจ้างเราจะขึ้นเว็บไซต์ มีเรื่องร้องเรียน @tourism 1 -2-3 แจ้งซ่อมแหล่ง
ท่องเที่ยว แต่ลักษณะงบลงทุนเราจะมีปัญหา เช่น น้ าในคลองเน่าเสีย เราท าเรื่องถึงกทม.