Page 90 - kpi20761
P. 90
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 89
ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้จริง ส�าหรับตราสารประเภทนี้ไม่ถือเป็นข้อผูกพัน
ที่เข้มงวดเหมือนกับอนุสัญญา ดังนี้แล้ว ILO จึงถือเป็นพันธกิจส�าคัญ
ในการสนับสนุนประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาแต่ละฉบับ
ซึ่งในปัจจุบัน มีการรับรองอนุสัญญาแล้วถึง ๑๘๙ ฉบับ ที่เกี่ยวกับ
๑๑๘
ประเด็นทางแรงงานด้านต่างๆ โดยอาจจ�าแนกได้ ๒๕ หมวดหมู่ ได้แก่
เสรีภาพในการสมาคม การรวมกลุ่มในการเจรจาต่อรอง แรงงานบังคับ
แรงงานเด็ก ความเสมอภาคในโอกาสและการปฏิบัติต่อ การปรึกษา
องค์กรไตรภาคี การบริหารจัดการแรงงาน การตรวจแรงงาน นโยบาย
การจ้างงาน การส่งเสริมการท�างาน การแนะน�าอาชีพและการฝึกหัดอาชีพ
ความปลอดภัยในการท�างาน ค่าจ้าง เวลาท�างาน ความปลอดภัยและ
อาชีวอนามัยในการท�างาน ประกันสังคม การคุ้มครองความเป็นมารดา
นโยบายเกี่ยวกับการสังคม แรงงานต่างด้าว ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์
ผู้ที่ท�างานทางทะเล แรงงานประมง คนท�างานในท่าเรือ ชนพื้นเมืองและ
ชาวเผ่า และอาชีพพิเศษอื่นๆ ซึ่งก็นับว่าค่อนข้างครอบคลุมเป้าประสงค์
ขององค์กรในการท�าให้เกิดความยุติธรรมทางสังคมขึ้น
๑.๒.๑.๒ อนุสัญญาที่ส�าคัญและจ�าเป็น
ที่มำ อย่างไรก็ตาม ในสภาพความเป็นจริงความส�าคัญของ
อนุสัญญาทั้ง ๑๘๙ ฉบับย่อมมีมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสารัตถะ
อันเป็นเนื้อหาแห่งอนุสัญญาและสภาพปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้น ดังนี้แล้ว
องค์การแรงงานระหว่างประเทศจึงได้ทบทวนและก�าหนดให้อนุสัญญา
บางฉบับมีความส�าคัญเป็นพิเศษ ด้วยเชื่อว่าเนื้อหาในอนุสัญญาเหล่านั้น
เป็นเครื่องมือส�าคัญที่สามารถขจัดปัญหาด้านแรงงานของประเทศสมาชิก
ให้หมดไปได้ โดยไม่จ�าเป็นต้องค�านึงว่าสภาพเศรษฐกิจและสังคมของ
๑๑๘ [Online] http://www.ilo.org/global/standards/lang--en/index.htm [8 jan 2018]
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 89 13/2/2562 16:24:11