Page 85 - kpi20761
P. 85

84


                 เพื่อจะได้หยิบยกมาใช้ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุที่พระราชบัญญัติ
                 แต่ละฉบับมักจะประกอบด้วยค�านิยาม ขอบเขตหรือกิจการที่ไม่อยู่ภายใต้

                 พระราชบัญญัติที่แตกต่าง ตลอดจนผู้ที่โดยสภาพและสถานะในทางแพ่ง
                 มิใช่ลูกจ้างหากแต่กฎหมายฉบับนั้นๆ ก�าหนดให้นายจ้างผู้ประกอบการ
                 มีหน้าที่ต่อบุคคลดังกล่าวด้วยเงื่อนไขที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ก�าหนดให้

                 บุคคลนั้นมีสถานะเฉกเช่นลูกจ้างในกฎหมายแรงงานฉบับหนึ่ง แต่กฎหมาย
                 แรงงานอีกฉบับหนึ่งกลับให้เพียงร่วมรับผิดกับนายจ้างตัวจริงในหน้าที่

                 บางประการซึ่งเป็นพื้นฐานของกฎหมายฉบับนั้นๆ เป็นต้น ท�าให้การศึกษา
                 บทกฎหมายแรงงานไทยต้องมีความละเอียดอ่อน ลูกจ้างหรือผู้ใช้แรงงาน
                 รายหนึ่งอาจเรียกร้องสิทธิได้จากกฎหมายฉบับหนึ่ง แต่กลับไม่ได้รับ

                 สิทธิใดๆ เลยจากกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง





                         กฎหมำยล�ำดับรอง ในส่วนที่เป็นเนื้อหารายละเอียดของ
                 พระราชบัญญัติแต่ละฉบับ ก็มักถูกก�าหนดขึ้นในกฎหมายล�าดับรอง
                 ล�าดับศักดิ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ประกาศกระทรวง กฎกระทรวง ฯลฯ

                 ซึ่งข้อเท็จจริงส่วนนี้ก็อาจมองได้ว่าเป็นการเติมเต็มเพื่อความสมบูรณ์
                 ของกฎหมายแต่ละฉบับ แต่ในทางตรงกันข้าม โอกาสในการที่เนื้อหา

                 ของกฎหมายล�าดับรองที่ออกโดยอาศัยอ�านาจของกฎหมายแม่บท
                 มีความซ�้าซ้อน หรือหากน�าไปใช้แล้วจะเกิดการตีความที่หลากหลายก็ย่อม
                 เกิดขึ้นได้ อันเนื่องมาจากกฎหมายแม่บทที่ให้อ�านาจในการออกกฎหมาย

                 ลูกนั้นก็ยังมีความลักลั่นในบางประเด็น
















         inside_ThLabourLaw_c1-2.indd   84                                     13/2/2562   16:24:10
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90