Page 80 - kpi20761
P. 80
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 79
ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งมีสหภาพแรงงานได้เพียงแห่งเดียว เป็นต้น
๑๐๖
มีความแตกต่างออกไปทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์การเมืองที่เกิดขึ้น
จากการเมืองช่วงประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๔ และลุกลามต่อมากลายเป็น
๑๐๗
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬใน พ.ศ. ๒๕๓๕ อย่างไรก็ตามในภาพรวม
กฎหมายฉบับนี้ถือเป็นแม่บทที่ก�าหนดเงื่อนไขการจ้างงานและการใช้
แรงงานของบุคคลากรและลูกจ้างในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเนื้อความเกือบ
ทั้งหมดในพระราชบัญญัติล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ทั้งสิ้น
และด้วยเหตที่กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายในล�าดับศักดิ์พระราชบัญญัติ
เพียงฉบับเดียวที่ก�าหนดเงื่อนไขการท�างานของบุคคลากรรัฐวิสาหกิจ
จึงท�าให้เกิดการตั้งค�าถามถึงที่มาทางนิติบัญญัติของกฎเกณฑ์ต่างๆ
ที่เป็นการคุ้มครองวันเวลาท�างาน การจ่ายค่าตอบแทนการท�างานของ
บุคคลากรในองค์กรนี้ อันถือเป็นเงื่อนไขขั้นต�่าสุดในการใช้แรงงาน
ค�าตอบที่ได้ก็คือ “คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์” ซึ่งเป็น
คณะกรรมการกลางที่กฎหมายฉบับนี้ตั้งขึ้นเพื่อท�าหน้าที่บริหารจัดการ
งานต่างๆ อันเป็นสาระส�าคัญของเนื้อหาในพระราชบัญญัตินี้ เป็น
ผู้ก�าหนดมาตรฐานขั้นต�่าในการใช้แรงงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งย่อมต้อง
๑๐๘
รวมถึงเงื่อนไขขั้นต�่าในการใช้แรงงาน ได้แก่ ก�าหนดวันและเวลาท�างาน
การจ่ายค่าตอบแทนการท�างาน ฯลฯ โดยที่มาตรฐานนี้ถือเป็นกฎเกณฑ์
กลางที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง และเนื้อหาแห่งมาตรฐานต้อง
๑๐๙
ไม่ต�่าไปกว่ากฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายเงินทดแทนด้วย
๑๐๖ พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสหากิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๔๐
๑๐๗ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ โปรดศึกษา พรภิรมย์ เชียงกูล, เหตุกำรณ์พฤษภำทมิฬ
๒๕๓๕ : วิเครำะห์ในมิติทำงประวัติศำสตร์, คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๓๕.
๑๐๘ พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสหากิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๑๓ (๑)
๑๐๙
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสหากิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๑๓ (๒)
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 79 13/2/2562 16:24:10