Page 76 - kpi20761
P. 76
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 75
นอกจากนี้แล้ว หากเป็นกรณีที่พระราชบัญญัติเฉพาะได้ก�าหนด
ขั้นตอนหรือกระบวนการให้ด�าเนินการเป็นเบื้องต้นก่อนเพื่อระงับ
ข้อพิพาทแรงงานที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของพระราชบัญญัติฉบับนั้นๆ
ก็จะต้องปรากฏความแจ้งว่าผู้เรียกร้องสิทธิได้ด�าเนินการตามขั้นตอน
เช่นนั้นครบถ้วนแล้วจึงมาฟ้องคดีต่อศาลแรงงานได้ ๑๐๒
อ�ำนำจของอธิบดีผู้พิพำกษำศำลแรงงำนกลำง (มำตรำ ๙)
กรณีที่มีปัญหาว่าคดีอยู่ในเขตอ�านาจของศาลแรงงานหรือไม่ ด้วยเหตุแห่ง
เนื้อหาของคดีไม่เข้ากรอบอ�านาจศาลตามมาตรา ๘ หากแต่โดยข้อเท็จจริง
แล้วแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของบุคคลที่เกี่ยวกับการจ้างงาน
หรือนิติสัมพันธ์ในการแรรงานกับคดีที่เกิดขึ้น ซึ่งหากคดีได้รับเข้าสู่
กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานแล้ว ก็น่าจะแสดงให้เห็นถึงสอดคล้อง
ระหว่างเนื้อหาแห่งคดีกับศาลที่จะพิจารณาตัดสินคดีได้ดีกว่าการน�าคดี
ไปฟ้องยังศาลอื่นซึ่งมิใช่ศาลช�านัญพิเศษดังเช่นศาลแรงงาน พระราช
บัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา ๙ จึงได้ก�าหนดให้อธิบดีผู้พิพากษา
ศาลแรงงานกลางมีอ�านาจวินิจฉัยว่าจะให้คดีใดอยู่ในเขตอ�านาจการพิจารณา
พิพากษาของศาลแรงงาน และค�าวินิจฉัยเช่นนั่นย่อมเป็นที่สุด ซึ่งอธิบดี
ผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเองเคยได้วินิจฉัยให้คดีที่พิพาทเรื่องกองทุน
ส�ารองเลี้ยงชีพอยู่ในเขตอ�านาจของศาลแรงงาน ทั้งนี้ด้วยเหตุที่คู่พิพาท
ที่เกี่ยวข้องกับคดีนั้นฝ่ายหนึ่งก็คือสมาชิกกองทุนซึ่งมีสถานะเป็นลูกจ้าง
ในระบบกฎหมายแรงงาน และการที่สถานประกอบการยอมให้ลูกจ้าง
๑๐๒
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘
วรรค ๒
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 75 13/2/2562 16:24:10