Page 74 - kpi20761
P. 74

การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ  73

                             ดังนี้แล้วหากเป็นข้อพิพาทด้วยเหตุอื่นที่ไม่ใช่ได้กล่าวมาข้างต้น
                    นี้หรือที่ไม่ได้อยู่ในอ�านาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานอันเกี่ยวกับ

                    การอุทธรณ์การเลิกสมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานแล้ว ก็พึงอนุมาน
                    ในเบื้องต้นว่าเป็นข้อพิพาทที่อยู่ในเขตอ�านาจศาลแรงงาน





                             (๓) ศำลแรงงำน

                             เขตอ�ำนำจศำล การอนุมานถึงเขตอ�านาจของศาลแรงงาน

                    ดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น เป็นที่เข้าใจตามความในพระราชบัญญัติจัดตั้ง
                    ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานได้ว่า ศาลแรงงานมีอ�านาจพิจารณา

                    พิพากษาคดี ๓ กลุ่มประเภทต่อไปนี้ คือ คดีตามมาตรา ๘ คดีตามมาตรา ๙
                    และคดีตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ
                    วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒





                             เขตอ�ำนำจทั่วไปของศำลแรงงำน (มำตรำ ๘) พระราชบัญญัติ

                    จัดตั้งศาลแรงงานและพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ก�าหนดให้ดคี
                    ๗ ประเภทดังต่อไปนี้ที่อยู่ในอ�านาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน คือ


                             ๑.    คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน
                                   หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

                             ๒.    คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายคุ้มครอง
                                   แรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายแรงงาน

                                   รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายจัดหางานและคุ้มครอง
                                   คนหางาน กฎหมมายประกันสังคม และกฎหมายเงิน
                                   ทดแทน








         inside_ThLabourLaw_c1-2.indd   73                                     13/2/2562   16:24:10
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79