Page 72 - kpi20761
P. 72
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 71
ประเด็นข้อน่าสังเกตของความในมาตรา ๑๒๓ นี้ก็คือการใช้ถ้อยค�า
“ลูกจ้างที่ประสงค์” อันสะท้อนให้เห็นเจตนารมณ์ของผู้ร่างกฎหมายที่มุ่งจะ
ให้เป็นสิทธิใน “ทางเลือก” แก่ลูกจ้างที่จะใช้วิธีการเยียวยาทางบริหาร
ซึ่งก็คือการร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามความที่ปรากฏในเนื้อความ
ของมาตรานี้ก่อนแล้วจึงอาจขอการเยียวยาต่อศาลต่อไปเมื่อไม่พอใจ
ในค�าวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ แต่หากลูกจ้างไม่ประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
ด�าเนินการแล้ว ลูกจ้างผู้ถูกระทบสิทธิก็ชอบที่จะเลือกวิถีทางเยียวยา
ด้วยการน�าข้อพิพาทดังกล่าวนั้นไปฟ้องต่อศาลแรงงานโดยตรงก็ได้
(๒.๒) กำรบังคับให้ต้องร้องเรียนข้อพิพำทต่อเจ้ำหน้ำที่
หรือคณะกรรมกำรเฉพำะก่อนน�ำคดีสู่ศำลแรงงำน
รัฐมนตรีว่ำกำรกระทรวงแรงงำนกับกำรอุทธรณ์ค�ำสั่งเลิก
สมำคม ในบรรดาพระราชบัญญัติหลักที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแรงงาน
ทั้ง ๔ ฉบับ ล้วนแล้วแต่ก�าหนดให้ข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิบางเรื่องในพระราช
บัญญัติฉบับนั้นๆ ต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการเฉพาะก่อน
มีเพียงพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์เพียงฉบับเดียวที่ก�าหนดให้การเลิก
สมาคมนายจ้างและสหภาพแรงงานด้วยเหตุที่นายทะเบียนเห็นว่า
การด�าเนินงานของสมาคมฯ หรือสหภาพฯ นั้นขัดต่อกฎหมาย หรือเป็นภัย
ต่อเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกรณีที่นายทะเบียนสั่งให้มีการเลือกตั้ง
กรรมการขึ้นใหม่ทั้งคณะและปรากฏว่าไม่มีการด�าเนินการภายในเวลา
ก�าหนด หรือกรณีที่สมาคมฯ/สหภาพฯ ไม่ด�าเนินกิจการติดต่อกันเป็น
เวลาเกินสองปี อาจถูกอุทธรณ์โต้แย้งค�าสั่งของนายทะเบียน ได้ด้วยการที่
กรรมการของสมาคมฯ/สหภาพฯ กึ่งหนึ่งท�าหนังสือยื่นต่อนายทะเบียน
เพื่ออุทธรณ์ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานวินิจฉัยและค�าวินิจฉัย
ของรัฐมนตรีอาจถูกอุทธรณ์คัดค้านไปยังศาลแรงงานได้อีกโสตหนึ่งด้วย
๙๖
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 71 13/2/2562 16:24:10