Page 67 - kpi20761
P. 67
66
ร่วมกัน หรือกฎหมายที่มีเนื้อหาในการก�าหนดกระบวนการในการให้
ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างได้มีโอกาสพูดคุยเจรจาตกลงเพื่อก�าหนด
สวัสดิการแรงงานและสภาพการจ้างให้อยู่บนความพึงพอใจของทั้ง
สองฝ่าย ซึ่งศัพท์ในกฎหมายแรงงานเรียกว่า “การแรงงานสัมพันธ์” นั่นเอง
พระรำชบัญญัติแรงงำนสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ วิวัฒนาการ
กฎหมายแรงงานสัมพันธ์มีทิศทางเหมือนกับกฎหมายแรงงานสามฉบับ
ที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้กล่าวคือ มีเนื้อหาที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ
แรงงาน พ.ศ. ๒๔๙๙ ต่อมาก็ถูกยกเลิกและมีการน�ามาบัญญัติไว้เป็นสาระ
หนึ่งในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๙ และฉบับที่ ๑๐๓ ตามล�าดับ
อย่างไรก็ตามน่าสังเกตว่าก่อนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๐๓ กฎหมาย
แรงงานสัมพันธ์ได้ถูกน�ามาบัญญัติไว้เป็นพระราชบัญญัติเฉพาะชื่อว่า
“พระราชบัญญัติก�าหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงานไทย พ.ศ. ๒๕๐๘”
แต่กฎหมายฉบับนี้ก็มีที่ใช้อยู่เพียง ๗ ปีเศษก็ต้องถูกยกเลิกไปโดยประกาศ
ของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๐๓
ความโดดเด่นของกฎหมายฉบับนี้อยู่ตรงที่การให้ความส�าคัญ
เป็นพิเศษของรัฐบาลไทยต่อประเด็นการแรงงานสัมพันธ์ เห็นได้จาก
ข้อเปรียบเทียบกับกฎหมายแรงงานเรื่องอื่นๆ ที่อยู่ในรูปของประกาศ
กระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานอยู่กว่า ๒๐ ปี จึงได้ถูก
พัฒนายกระดับประกาศเป็นกฎหมายในล�าดับพระราชบัญญัติ แต่ส�าหรับ
กฎหมายแรงงานสัมพันธ์แล้วได้ถูกพิจารณาและตราขึ้นเป็น “พระราช
๘๘
บัญญัติแรงงานสัมพันธ์” ขึ้นในปี ๒๕๑๘
๘๘
รก. เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๔๗ ฉบับพิเศษ ลว. ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 66 13/2/2562 16:24:09