Page 64 - kpi20761
P. 64
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 63
พระรำชบัญญัติควำมปลอดภัย อำชีวอนำมัย และ
สภำพแวดล้อมในกำรท�ำงำน พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยหลักการแล้วกฎหมาย
ความปลอดภัย ๒๕๕๔ มีเนื้อหาพื้นฐานคล้ายกับหมวด ๘ (เดิม) ในพระราช
บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ หากแต่กฎหมายความปลอดภัย
๒๕๕๔ ได้ก�าหนดกลไกเพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้แรงงานที่เข้ามา
ท�างานในสถานประกอบการมากขึ้น ดังเห็นได้ว่าจากการที่กฎหมายฉบับนี้
ก�าหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่เป็นเจ้าของสถานประกอบ
กิจการในการจัดระเบียบความปลอดภัยให้กับบุคคลที่เข้ามาท�างาน
ในสถานประกอบการไม่ว่าจะมีสถานะอย่างใดๆ กล่าวคือไม่จ�าเป็นต้อง
เป็นลูกจ้างภายใต้สัญญาจ้างแรงงานที่มีเจ้าของสถานประกอบกิจการ
เสมอไป ซึ่งผู้เข้ามาปฏิบัติงานก็มีหน้าที่ในการเคารพกฎกติกาดังกล่าว
ตลอดจนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ซึ่งการใช้ชื่อเรียกบุคคลที่มีหน้าที่
และความรับผิดชอบของกฎหมายฉบับนี้ค่อนข้างแตกต่างและโดดเด่นกว่า
กฎหมายคุ้มครองแรงงานมาก เพราะกฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่ค�าว่านายจ้าง
หรือลูกจ้างอย่างที่เข้าใจกันทั่วไป แต่กลับเข้าใจว่าบุคคลที่เป็นเจ้าของ
หรือผู้ครอบครองสถานประกอบการเป็นนายจ้าง และผู้ที่ได้รับอนุญาต
ให้เข้ามาท�างานในสถานประกอบการโดยไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรถือว่า
๘๖
เป็นลูกจ้าง นั่นย่อมเป็นการกินความของค�าว่าผู้ประกอบกิจการที่จ้างงาน
แบบเหมาค่าแรงลักษณะต่างๆ ไปโดยปริยายนั่นเอง อันท�าให้กฎหมาย
ฉบับนี้มีผลคุ้มครองผู้ใช้แรงงานในวงกว้าง กล่าวคือ ทุกคนที่อยู่ใน
สถานประกอบการโดยไม่สนใจสถานะในทางนิติสัมพันธ์ของกฎหมายแพ่ง
อันเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์แต่อย่างใด จึงเท่ากับว่าเป็นการคุ้มครอง
ผู้ใช้แรงงานได้มากกว่านั่นเอง
๘๖ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท�างาน
พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๔
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 63 13/2/2562 16:24:09