Page 68 - kpi20761
P. 68

การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ  67


                            สำระส�ำคัญ กฎหมายฉบับนี้มิได้ก�าหนดเนื้อหาของสิทธิ
                    ในสวัสดิการหรือเงื่อนไขสภาพการจ้างแรงงานไว้แต่อย่างใด หากแต่ก�าหนด

                    เงื่อนไขและกระบวนการที่จะท�าให้ “ฝ่ายนายจ้าง” และ “ฝ่ายลูกจ้าง” ได้มี
                    โอกาสในการเข้าเจรจาเพื่อต่อรองให้มี แก้ไข เปลี่ยนแปลง สภาพการจ้างงาน
                    ที่สอดคล้องกับความต้องการของทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ดีหากกระบวนการ

                    ในการเจรจาต่อรองล้มเหลว กฎหมายก็ได้ก�าหนดเครื่องมือในการกดดัน
                    อีกฝ่ายหนึ่งที่ชอบด้วยหลักการแรงงานเรียกว่า “การนัดหยุดงาน (strike)”

                    และ “การปิดงาน (lock-out)” ไว้ให้เป็นเครื่องมือในการต่อรองด้วยวิธีการ
                    บีบคั้นอีกฝ่ายหนึ่ง กระนั้น เมื่อกระบวนการดังว่ามานี้เป็นสิทธิที่ภาคีทาง
                    ด้านการแรงงานพึงมีและได้รับการรับรองโดยกฎหมายภายใน การก�าหนด

                    เครื่องมือเพื่อป้องกันการที่นายจ้างซึ่งเป็นฝ่ายที่อ�านาจต่อรองมากกว่า
                    โดยสถานะจะเข้ากลั่นแกล้งลูกจ้างด้วยเหตุที่ลูกจ้างใช้สิทธิต่างๆ ที่เป็นการ

                    แรงงานสัมพันธ์จึงเป็นเรื่องส�าคัญและจ�าเป็น ดังที่พระราชบัญญัติฉบับนี้
                    ได้ก�าหนดกติกาที่เรียกว่า “การกระท�าอันไม่เป็นธรรม” ไว้ห้ามทั้งสองฝ่าย
                    ปฏิบัติเพื่อขัดขวางการใช้สิทธิในการแรงงานสัมพันธ์ของอีกฝ่ายหนึ่ง




                            สถำนะของกฎหมำย ในภาพรวมแม้กฎหมายแรงงานสัมพันธ์
                    จะเป็นกฎหมายแรงงานที่อยู่ในรูปพระราชบัญญัติที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดา

                    บทกฎหมายแรงงานไทยปัจจุบัน แต่ปรากฏว่าเนื้อหาของกฎหมายฉบับนี้
                    กลับมีช่องว่างและมีความไม่สอดคล้องกับหลักการสากลที่มีการเรียกร้อง

                    จากภาคส่วนต่างๆ ให้แก้ไขปรับปรุงมากที่สุด ดังจะได้กล่าวในรายละเอียด
                    ต่อไป อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่าสิทธิในการแรงงานสัมพันธ์มักท�าให้
                    ผู้ใช้แรงงานต้องเข้าเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองในทางข้อเท็จจริง อันท�าให้

                    การเรียกร้องเพื่อแก้ไขปรับปรุงกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ประสบความล้มเหลว
                    อยู่บ่อยครั้งก็ด้วยเหตุผลทางการเมืองที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง แต่ที่เห็น

                    เป็นประจักษ์ก็คือ การแยกให้ผู้ใช้แรงงานในภาครัฐวิสาหกิจไม่ว่าจะเป็น





         inside_ThLabourLaw_c1-2.indd   67                                     13/2/2562   16:24:09
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73