Page 66 - kpi20761
P. 66
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 65
ความเป็นเอกชนและความเป็นมหาชนเข้าด้วยกัน โดยส่วนที่เป็น
๘๗
มหาชนนั้น รัฐอาจเข้าแทรกแซงได้เท่าที่จ�าเป็นเพื่อท�าให้การใช้แรงงาน
ในประเทศสอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานสากลเท่านั้น และเมื่อมาตรฐาน
แรงงานเรื่องต่างๆ สอดรับกับหลักสากลแล้ว ก็ควรปล่อยให้เป็นอิสระ
ของเอกชนในการที่จะเจรจาต่อรองก�าหนดเงื่อนไขการจ้างส�าหรับ
ในประโยชน์และความรับผิดชอบส่วนที่เหลือ
ด้วยสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจที่ฝ่ายลูกจ้างมักเป็นฝ่าย
เสียเปรียบนายจ้าง การรวมกลุ่มของลูกจ้างที่มีจุดมุ่งหมายในทางแรงงาน
ร่วมกันจึงถือเป็นกลไกส�าคัญที่จะท�าให้เกิดอ�านาจในการเจรจาเพื่อต่อรอง
ก�าหนดเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและการท�างาน
กอปรกับข้อสันนิษฐานที่ว่ารัฐไม่อาจทราบหรือรับรู้ความต้องการของ
ฝ่ายลูกจ้างเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางแรงงานได้ทุกเรื่อง เว้นแต่เรื่อง
ที่เป็นมาตรฐานสากลซึ่งถือเป็นหน้าที่ที่รัฐต้องจัดให้มี อีกทั้งผู้ประกอบการ
แต่ละรายแม้จะประกอบกิจการประเภทเดียวกันก็ใช่ว่าจะมีความสามารถ
ในการจัดสวัสดิการให้กับลูกจ้างของตนเสมือนหรือเท่าเทียบกับลูกจ้าง
ของผู้ประกอบการรายอื่นได้ ด้วยเหตุนี้หากกฎหมายก�าหนดกลไกให้
ทั้งสองฝ่ายมีโอกาสในการเข้าเจรจาต่อรองในเรื่องที่เกี่ยวกับสวัสดิการ
แรงงาน ส่วนรายละเอียดจะเป็นเยี่ยงใดนั้นย่อมเป็นอิสระของทั้งสองฝ่าย
ที่จะช่วยกันชั่งน�้าหนักความต้องการและความสามารถในการจัดสวัสดิการ
อันท�าให้เป็นที่มาของกฎหมายที่มีเนื้อหาในการคุ้มครองแรงงานในเชิง
๘๗ โปรดศึกษาเพิ่มเติม รวินท์ ลีละพัฒนะ และศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์, รำยงำนวิจัยฉบับ
สมบูรณ์ เรื่อง “กำรจ�ำกัดสิทธิและเสรีภำพในกำรประกอบอำชีพโดยข้อสัญญำห้ำม
ท�ำกำรแข่งขันกับกิจกำรของนำยจ้ำงในกฎหมำยไทย : ศึกษำเปรียบเทียบกฎหมำย
อังกฤษและกฎหมำยฝรั่งเศส”, คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๙, หน้า ๑๔
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 65 13/2/2562 16:24:09