Page 62 - kpi20761
P. 62
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 61
พระรำชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ กฎหมายฉบับนี้
ก�าหนดหน้าที่โดยเด็ดขาดของนายจ้างที่จะต้องจ่ายเงินทดแทนให้กับลูกจ้าง
และผู้ที่กฎหมายก�าหนดให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในรูปแบบ
ต่างๆ เมื่อลูกจ้างผู้ใช้แรงงานได้รับภยันตราย เจ็บป่วย ตายหรือสูญหาย
อันเนื่องจากการท�างานให้แก่นายจ้าง ซึ่งได้มีการจัดตั้งกองทุนเงินทดแทนขึ้น
ก�าหนดให้นายจ้างฝ่ายเดียวมีหน้าในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนโดยมี
อัตราการจ่ายตามแต่ประเภทของกิจการและตามประสบการณ์การสูญเสีย
ซึ่งเงินที่เก็บไว้นี้ก็จะจ่ายให้กับลูกจ้างเมื่อได้รับอุบัติภัยอันเนื่องจาก
การท�างาน อันจะท�าให้ลูกจ้างได้รับการเยียวยาอย่างทันท่วงที เพราะหาก
มิได้มีการกันเงินของนายจ้างส่วนนี้ไว้ เมื่อเกิดสภาวะความสูญเสียที่ลูกจ้าง
ต้องการความช่วยเหลือเยียวยาขึ้นและนายจ้างไม่อยู่ในภาวะที่จะจัดการ
ได้ก็จะยิ่งเป็นการท�าให้เกิดความเสียหายต่อตัวผู้ใช้แรงงานนั่นเอง
จนกระทั่งปัจจุบันกฎหมายเงินทดแทนได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม
เพียงครั้งเดียวเมื่อปี ๒๕๔๕ โดยการเพิ่มส่วนความรับผิดร่วมกับนายจ้าง
ให้กับผู้ประกอบการที่มีการจ้างงานแบบเหมาค่าแรงหรือผู้จ้างงาน
outsourcing นั่นเอง
(๓) กฎหมำยควำมปลอดภัยในกำรท�ำงำน
ควำมเป็นมำ ตั้งแต่กฎหมายแรงงานฉบับปี ๒๔๙๙ กฎหมาย
ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ
ท�างาน ถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานเสมอมา
จนกระทั่งการปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองแรงงานครั้งที่ ๓ (พระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๔) ก็ได้มีการแยก
เนื้อหาของกฎหมายส่วนความปลอดภัยออกมาเป็นกฎหมายเฉพาะ
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 61 13/2/2562 16:24:09