Page 60 - kpi20761
P. 60

การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ  59


                            การแก้ไขปรับปรุงครั้งแรกในปี ๒๕๕๑ เป็นการเพิ่มเติมความ
                    คุ้มครองแก่ลูกจ้างในด้านต่างๆ ดังมีสาระส�าคัญ เช่น การก�าหนดหน้าที่

                    ความรับผิดชอบให้แก่ผู้ใช้แรงงานที่จ้างงานแบบเหมาค่าแรงหรือที่ในทาง
                    ปฏิบัติเรียกว่านายจ้าง outsourcing การก�าหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ
                    การเรียกหลักประกันการท�างาน การให้อ�านาจศาลแรงงานในการปรับลด

                    ความไม่เป็นธรรมในข้อสัญญาจ้างแรงงาน เงื่อนไขการท�างานและ
                    สภาพการจ้าง การห้ามคุกคามทางเพศต่อลูกจ้างทั้งชายและหญิง

                    ซึ่งแต่เดิมก�าหนดไว้เฉพาะแต่ลูกจ้างหญิงเท่านั้น และการก�าหนดอัตรา
                    เงินที่ต้องจ่ายทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนเมื่อนายจ้างต้องหยุดกิจการ
                    โดยไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเป็นต้น


                            การแก้ไขปรับปรุงครั้งที่สองเกิดขึ้นในปีเดียวกัน แต่มีระยะเวลา
                    ห่างจากวันประกาศใช้พระราชบัญญัติเพียง ๓ เดือน (พฤษภาคม ๒๕๕๑)

                    โดยการเพิ่มอ�านาจหน้าที่ให้กับคณะกรรมการค่าจ้าง เพื่อก�าหนดอัตรา
                    ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือที่มีการก�าหนดเป็นอีกประเภทต่างหากจากอัตรา

                    ค่าจ้างขั้นต�่าที่มีอยู่แต่เดิม กับทั้งหน้าที่ในการจัดท�าแผนพัฒนาระบบ
                    ค่าจ้างและรายได้ของประเทศ ตลอดจนติดตามประเมินผลแผนพัฒนา
                    เกี่ยวกับอัตราค่าจ้างทั้ง ๒ ประเภท อันท�าให้เห็นได้ว่ารัฐบาลเริ่มให้ความ

                    ส�าคัญต่อแรงงานฝีมือและความมุ่งมั่นในการพัฒนาฝีมือแรงงานมากขึ้น

                            การแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ ๓ เมื่อปี ๒๕๕๓ โดยได้ยกเลิกหมวด ๘
                    ว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท�างาน

                    เพื่อน�าบทบัญญัติดังกล่าวไปบัญญัติไว้เป็นกฎหมายเฉพาะอีกหมวดหนึ่ง
                    อันสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความส�าคัญของรัฐต่อความปลอดภัยของผู้ใช้

                    แรงงานวิธีหนึ่ง

                            การแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ ๔ เมื่อปี ๒๕๖๐ โดยมีการก�าหนดอายุ

                    เกษียณสูงสุดไว้ที่ ๖๐ ปี อันท�าให้ต้องถือว่าสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง





         inside_ThLabourLaw_c1-2.indd   59                                     13/2/2562   16:24:09
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65