Page 58 - kpi20761
P. 58
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 57
อยู่ไม่น้อยจนท�าให้ต้องมีการชะลอการบังคับใช้กฎหมาย นั่นย่อมสะท้อน
ให้เห็นความในเบื้องต้นได้ว่าการพัฒนากฎหมายส่วนนี้ยังไม่สามารถ
แก้ไขปัญหาการใช้แรงงานต่างด้าวได้อย่างแท้จริง ซึ่งคณะผู้วิจัยจะได้น�า
ข้อเท็จจริงทั้งหมดนี้ไปวิเคราะห์และประเมินผลร่วมกับสถานการณ์
แรงงานอื่นๆ ในส่วนต่อไป
(ข) กฎหมำยที่ให้ควำมคุ้มครองกับแรงงำนในลักษณะ
ปัจเจกบุคคล
เมื่อกล่าวถึงบทบัญญัติที่มีเนื้อหาให้ความคุ้มครองแรงงาน
แต่ละปัจเจกบุคคลแล้ว ในทางต�าราถือเป็นยุติว่าเป็นการกล่าวถึงกฎหมาย
คุ้มครองแรงงาน (๑) กฎหมายเงินทดแทน (๒) และกฎหมายความปลอดภัย
ในการท�างาน (๓)
(๑) กฎหมำยคุ้มครองแรงงำน
ควำมเป็นมำ นับแต่ได้มีการยกเลิกการบังคับใช้พระราชบัญญัติ
แรงงาน พ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายแรงงานไทยสมัยใหม่ที่มี
ความสมบูรณ์ที่สุดฉบับแรกเป็นต้นมา กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครอง
แรงงานก็ได้ถูกประกาศใช้อีกครั้งหนึ่งเมื่อปี ๒๕๐๑ อาศัยอ�านาจตามความ
ในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๙ ต่อมาในปี ๒๕๑๕ ก็ได้ถูกยกเลิกและ
มีการประกาศใช้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๐๓ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม
๒๕๑๕ ขึ้นแทนที่ ซึ่งประกาศฉบับใหม่นี้ก็ยังคงให้กระทรวงมหาดไทย
๗๙
มีอ�านาจในการออกประกาศเรื่องการคุ้มครองแรงงานต่อไป ซึ่งประกาศ
๗๙ รก.เล่ม ๔๑ ตอนพิเศษที่ ๑ ลว. ๑๖ มีนาคม ๒๕๑๕
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 57 13/2/2562 16:24:09