Page 54 - kpi20761
P. 54
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 53
นอกจากนี้แล้ว กฎหมายฉบับใหม่ยังคงไว้ซึ่งการก�าหนดอาชีพ
สงวนแก่คนไทย โดยค�านึงถึงความมั่นคงของชาติ โอกาสในการประกอบ
๕๘
อาชีพของคนไทย และความต้องการแรงงานต่างด้าวที่จ�าเป็นต่อการพัฒนา
๕๙
ประเทศ อีกทั้งแรงงานบางประเภทด้วยสถานะที่ไม่อาจเป็นผู้อยู่
ในราชอาณาจักรได้โดยเหตุต่างๆ เช่น ถูกเนรเทศ เข้าเมืองโดยไม่ได้รับ
อนุญาต หรือถูกถอนสัญชาติก็สามารถท�างานได้เพียงเท่าที่คณะรัฐมนตรี
ประกาศก�าหนดไว้ ซึ่งเดิมทีคณะรัฐมนตรีเคยก�าหนดงานไว้ ๒๗ ประเภท
ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ก�าหนดงานที่ให้
คนต่างด้าวตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการท�างานของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๒๑ อันท�าให้ก็ต้องอนุโลมใช้ไปจนกว่าจะมีการประกาศใช้
กฎเกณฑ์ฉบับใหม่ขึ้นแทนที่
ในส่วนของกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปยัง
นอกราชอาณาจักรซึ่งตั้งขึ้นเมื่อประกาศใช้พระราชบัญญัติการท�างานของ
คนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ด้วยมุ่งหมายให้แรงงานต่างด้าวที่สัญญาจ้าง
สิ้นสุดลงได้รับความช่วยเหลืออย่างเพียงพอในการกลับภูมิล�าเนาของตน
โดยเงินส่วนนี้ถือเป็นเงินของผู้ใช้แรงงานที่นายจ้างมีหน้าที่หักจากค่าจ้าง
น�าส่งกองทุนฯ ในอัตราที่กฎหมายก�าหนด และหากลูกจ้างต่างด้าวไม่ได้
ใช้เงินส่วนนี้หรือเงินเหลือหลังจากการจัดสรรเพื่อส่งคนต่างด้าวกลับ
ภูมิล�าเนาเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็จะมีการคืนเงินส่วนที่เหลือให้กับลูกจ้าง
๕๘ ณ. วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๐ ยังไม่มีประกาศพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่เกี่ยวกับอาชีพ
สงวนส�าหรับคนไทย ด้วยเหตุนี้อาศัยความตามมาตรา ๑๓๔ อาชีพสงวนส�าหรับคนไทย
ที่ห้ามต่างด้าวท�าจึงยังคงเป็นอาชีพสงวน ๓๙ อาชีพตามความในพระราชกฤษฎีกาก�าหนด
งานอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวท�า พ.ศ. ๒๕๒๒ ออกตามความในมาตรา ๖ พระราช
บัญญัติการท�างานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ ดังที่แสดงไว้ในภาคผนวกที่ ๑ (คณะผู้วิจัย)
๕๙
พระราชก�าหนดการบริหารจัดการการท�างานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๗
๖๐ พระราชบัญญัติการท�างานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ (ยกเลิก) มาตรา ๑๕ – มาตรา
๒๐ และ มาตรา ๒๙ – มาตรา ๓๑
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 53 13/2/2562 16:24:09