Page 50 - kpi20761
P. 50
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 49
ระยะด�าเนินการส่งตัวกลับ ถอนสัญชาติ หรือเนรเทศได้สามารถท�างาน
บางประเภทได้เพื่อจะได้มีแหล่งเงินได้เลี้ยงชีพอันเป็นการลดภาระของ
รัฐบาล ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ก็มีอายุการใช้งานราว ๓๐ ปี ก่อนที่จะถูกปรับปรุง
แก้ไขด้วยเหตุผลที่ประเทศไทยเข้าผูกพันกับพันธกรณีระหว่างประเทศ
ในระดับภูมิภาค กล่าวคือ การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอันส่งผล
ให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ (ตามพันธกรณี) และแรงงานไร้ฝีมือ
(ตามข้อเท็จจริง) กอปรกับความต้องการของผู้ประกอบการในไทยเอง
ที่ปรารถนาจ้างแรงงานต่างด้าวด้วยความมานะและศักยภาพในการท�างาน
ที่แม้จะเป็นแรงงานไร้ฝีมือเหมือนกัน แต่ก็มีความโดดเด่นในประเด็นดังกล่าว
มากกว่าแรงงานไทย อันท�าให้กลายเป็นเหตุผลความจ�าเป็นที่ประเทศไทย
ต้องแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการท�างานของคนต่างด้าว ซึ่งผลลัพธ์
ที่ออกมาก็คือ การประกาศใช้พระราชบัญญัติการท�างานของคนต่างด้าว
พ.ศ ๒๕๕๑ ที่ยังคงน�าสารัตถะของพระราชบัญญัติฉบับปี ๒๕๒๑
มาก�าหนดไว้เป็นเงื่อนไขในการแจ้งแรงงานต่างด้าวอยู่เหมือนเดิม หากแต่มี
การเพิ่มมาตรการที่เป็นการรองรับการเข้ามาของแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน
ที่มีพรหมแดนติดไทย โดยเฉพาะแรงงานจากเมียนมา ลาว และกัมพูชา
ให้สามารถเข้ามาท�างานบางประเภทได้ตามพันธกรณีที่ไทยได้ท�าข้อตกลง
กับประเทศต้นทางไว้ ด้วยกลไกและวิธีการควบคุมที่แตกต่างจากแรงงาน
ต่างด้าวอื่น อีกทั้งยังได้ก�าหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อส่งคนต่างด้าว
กลับออกไปยังนอกราชอาณาจักรเพื่อช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ที่สัญญาจ้าง
แรงงานสิ้นสุด หรือสัญญาได้ถูกระงับยุติด้วยเหตุจากนายจ้างของตนได้
กลับภูมิล�านาโดยไม่ต้องเป็นภาระต่อรัฐบาลมากจนเกินไปนัก
ปัญหำกำรใช้แรงงำนต่ำงด้ำวในประเทศไทยที่ฝ่ำฝืนต่อ
หลักกำรแรงงำนสำกล แม้กฎหมายการท�างานของคนต่างด้าวจะได้แก้ไข
และพัฒนาให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ประเทศไทยต้องประสบกับ
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 49 13/2/2562 16:24:08