Page 47 - kpi20761
P. 47
46
ที่สามารถหางานท�าในต่างประเทศได้ อันย่อมหมายความถึงเจตนารมณ์
๔๑
ที่รัฐบาลมุ่งส่งออกแต่เฉพาะแรงงานฝีมือเท่านั้น เพื่อเป็นการยืนยันขั้นต้น
ว่าแรงงานไทยที่ออกไปท�างานนอกประเทศมีฝีมือและความสามารถที่จะ
ท�างานให้กับผู้ว่าจ้างในต่างประเทศตามเงื่อนไขที่ได้มีการก�าหนดไว้
ในสัญญาจ้างที่ได้ท�าผ่านตัวแทนจัดหางานได้ นอกจากนี้แล้ว กฎหมายฉบับนี้
ยังให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปท�างานยังต่างประเทศ
อันเป็นกลไกเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่แรงงานไทยที่อาจได้รับ
ทุกข์ภัยครั้นเมื่อไปท�างานยังต่างประเทศให้สามารถกลับภูมิล�าเนาได้โดย
๔๒
สะดวกมากขึ้น และประการสุดท้าย เพื่อเป็นการป้องกันการลักลอบส่ง
คนงานไทยออกไปท�างานโดยไม่เป็นไปตามกระบวนการที่กฎหมายก�าหนด
พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังได้ควบคุมการที่แรงงานไทยออกไปปฏิบัติหน้าที่
ในต่างประเทศในลักษณะของการไปฝึกงานอีกด้วย เพราะการใช้ข้ออ้างว่า
บริษัทผู้เป็นนายจ้างประกอบกิจการในประเทศไทยส่งบุคคลซึ่งอ้างว่า
เป็นลูกจ้างไปฝึกงานหรือเพิ่มพูนความรู้ยังต่างประเทศอาจเป็นไป
ในลักษณะของการร่วมกันฉ้อฉลโดยคนหางานสวมรอยเข้าเป็นลูกจ้างและ
ให้บริษัทจัดหางานท�าการออกหน้าเป็นนายจ้าง อันเป็นการเลี่ยงหน้าที่ตาม
กฎหมายจัดหางาน ด้วยเหตุนี้หากมีการส่งแรงงานไปฝึกงานยังต่างประเทศแล้ว
กฎหมายฉบับนี้จึงก�าหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นนายจ้างนั้น
ต้องแจ้งให้อธิบดีทราบถึงการไปฝึกงานดังกล่าวทีไม่เกินกว่า ๔๕ วัน แต่หาก
๔๓
เกินกว่า ๔๕ วันก็จะต้องขออนุญาต เพื่อการตรวจสอบว่าการด�าเนินการ
ต่างๆ เป็นไปด้วยเจตนาสุจริตจริงมิได้เกิดการฉ้อฉลหรืออ�าพรางการ
ประกอบธุรกิจจัดหางานให้กับคนหางานไปท�างานในต่างประเทศแต่อย่างใด
๔๑
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๔๗ ทวิ –
มาตรา ๔๗ นว
๔๒ พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๕๒
๔๓ พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๔๙ ทวิ
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 46 13/2/2562 16:24:08