Page 70 - kpi20761
P. 70
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 69
(๑) วิธีทำงกำรแรงงำนสัมพันธ์กับกำรระงับข้อพิพำท
แรงงำน
บนข้อเท็จจริงที่ว่ากฎหมายแรงงานสามารถก�าหนดเงื่อนไข
การใช้แรงงานได้แต่เพียงหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้แรงงานทั่วไปเท่านั้น
หากกิจการใดต้องการก�าหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์
ทางแรงงานที่มากไปกว่าบทกฎหมายก็จะต้องท�าเป็นข้อตกลงระหว่าง
ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง กล่าวคือ เป็นการเจรจาต่อรองกันเองระหว่าง
ผู้ใช้แรงงานและผู้ได้รับประโยชน์จากการแรงงาน โดยรัฐจะไม่ได้เข้าไป
แทรกแซงในรายละเอียดของข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งบ่อยครั้งการเจรจามักจะ
ล้มเหลวด้วยต่างฝ่ายต่างไม่ยอมลงให้กัน อันท�าให้อาจเกิดเป็นข้อพิพาท
แรงงานตามมาในที่สุด ด้วยเหตุนี้กฎหมายว่าด้วยการแรงงานสัมพันธ์จึงได้
ก�าหนดให้มีกระบวนการในการได้มาซึ่งหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงซึ่งข้อตกลงฯ
ดังกล่าว โดยก�าหนดวิธีการและขั้นตอนในการยื่นข้อเรียกร้อง การเจรจา
ต่อรอง การประนีประนอม และการบริหารจัดการกระบวนการการเจรจา
ที่ล้มเหลวให้สามารถยุติด้วยสันติวิธี ภายใต้เครื่องมือการบีบบังคับฝ่าย
ที่ไม่ยอมตกลงหรือปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ที่ตนพึงมีตามข้อตกลง
ที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ด้วยการนัดหยุดงานหรือการปิดงาน อันถือวิถีทางแรงงาน
เพื่อการระงับข้อพิพาทแรงงานนั้นเอง
(๒) เจ้ำหน้ำที่ และคณะกรรมกำรพิเศษ
หากพิเคราะห์จากพระราชบัญญัติ ๔ ฉบับ ซึ่งเป็นกฎหมายหลัก
ที่เกี่ยวกับการแรงงาน ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ พระราช
บัญญัติเงินทดแทนฯ พระราชบัญญัติประกันสังคมฯ และพระราชบัญญัติ
แรงงานสัมพันธ์ฯ แล้วพบได้ว่ากฎหมายทุกฉบับได้ก�าหนดให้การเรียกร้อง
และ/หรือข้อพิพาทในสิทธิทางแรงงานซึ่งก�าหนดไว้ในพระราชบัญญัติ
ฉบับนั้นๆ จ�าเป็นต้องผ่านการวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่หรือคณะกรรมการเฉพาะ
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 69 13/2/2562 16:24:10