Page 79 - kpi20761
P. 79
78
นายจ้างในการประสบอันตราย เจ็บป่วย สูญหายหรือตายอันเนื่องจาก
การท�างาน ก็ยังคงเป็นไปตามแนวทางของกฎหมายคุ้มครองแรงงานและ
กฎหมายเงินทดแทน อันถือเป็นมาตรฐานขั้นต�่าสุดในการใช้แรงงานนั่นเอง
นอกจากนี้แล้วกฎหมายแรงงานที่มีลักษณะเฉพาะมักจะกล่าวถึงกฎหมาย
แรงงานใน ๒ ส่วนเป็นหลัก กล่าวคือ ส่วนที่ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
ในลักษณะของปัจเจกบุคคล ประการหนึ่ง และการคุ้มครองแรงงานในเชิง
ร่วมกัน (แรงงานสัมพันธ์) อีกประการหนึ่ง
(ข) หลักกำรเฉพำะ
กฎหมายแรงงานที่มีลักษณะเฉพาะสามารถจ�าแนกออกเป็น
๒ ประเภทใหญ่ คือ กฎหมายแรงงานเฉพาะด้วยเหตุแห่งสถานะของ
ตัวองค์กร (๑) และ กฎหมายแรงงานเฉพาะด้วยเหตุแห่งการท�างานที่ต้อง
ขึ้นอยู่กับบริบทพิเศษ (๒)
(๑) กฎหมำยแรงงำนเฉพำะด้วยเหตุแห่งสถำนะของ
ตัวองค์กร : กฎหมำยแรงงำนรัฐวิสำหกิจสัมพันธ์
พระรำชบัญญัติแรงงำนรัฐวิสำหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
กฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจมีเนื้อหาส่วนใหญ่คล้ายกับความในกฎหมาย
แรงงานสัมพันธ์ หากแต่รายละเอียดในบางเรื่อง เช่น ก�าหนดระยะเวลา
ในการยื่นเรื่องด�าเนินกระบวนการในการแจ้งข้อเรียกร้องที่ยาวขึ้นกว่า
๑๐๔
ที่ก�าหนดไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ อีกทั้งการก�าหนด
ห้ามนัดหยุดงานและปิดงานในภาครัฐวิสาหกิจ ตลอดจนการก�าหนด
๑๐๕
๑๐๔
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสหากิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๓๐ – มาตรา ๓๒
๑๐๕ พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสหากิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๓๓
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 78 13/2/2562 16:24:10