Page 82 - kpi20761
P. 82
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 81
ส�าหรับงานบางประเภท ยังได้ก�าหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมมากไปกว่าที่ปรากฏ
ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ อีกด้วย เช่น กฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน
ในงานประมงทางทะเล ได้ก�าหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ส่งลูกจ้างกลับไปยัง
ท้องที่ที่นายจ้างได้จ้างลูกจ้างมาท�างาน กรณีที่เรืออับปางลง เป็นต้น
๑๑๐
ดังนี้แล้วจึงสรุปได้ว่ากฎหมายแรงงานเฉพาะในงานสามประเภท
ได้แก่ แรงงานประมงทะเล แรงงานภาคเกษตรกรรม แรงงานรับขนทางบก
ล้วนแล้วแต่ใช้แนวทางในการคุ้มครองแรงงานเดียวกับกฎหมายคุ้มครอง
แรงงาน (ทั่วไป) ทั้งสิ้น เพียงแต่มีการลด ตัดทอน เงื่อนไขบางประการ
เพื่อให้กฎหมายมีความสอดคล้องกับบริบทของงาน
(๒.๒) พระรำชบัญญัติเฉพำะ : กฎหมำยเกี่ยวกับแรงงำน
ทำงทะเล
พระรำชบัญญัติแรงงำนทำงทะเล พ.ศ. ๒๕๕๘ การประกาศใช้
กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานทางทะเลของประเทศไทยนั้น ได้รับอิทธิพล
และแนวคิดมาจากอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล (Maritime Labour
Convention 2006) เป็นผลให้เนื้อหาของพระราชบัญญัติฉบับนี้นอกจาก
จะก�าหนดกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานพื้นฐานไว้ ตัวอย่างเช่น
๑๑๑
การไม่เลือกปฏิบัติในการจ้างแรงงาน ไว้แล้วก็มีการเพิ่มเติมเนื้อหา
ในบางประเด็นที่ไม่ปรากฏในกฎหมายแรงงานเฉพาะในงานอย่างอื่น เช่น
เงื่อนไขในการจัดหางานให้คนหางานไปท�างานในเรือ ค่าสินไหมทดแทน
แก่คนงานประจ�าเรือกรณีเรือจม เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ความสมบูรณ์
ของกฎหมายฉบับนี้อยู่ที่การประมวลรวมเงื่อนไขในการให้ความคุ้มครอง
ที่ไม่เฉพาะแต่การคุ้มครองแรงงงานเท่านั้น หากแต่ยังปรากฏบทบัญญัติ
๑๑๐
กฎกระทรวง เรื่องคุ้มครองแรงงานในงานประมงทางทะเล พ.ศ. ๒๕๕๗ มาตรา ๑๕ (๑)
๑๑๑ พระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๑๓
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 81 13/2/2562 16:24:10