Page 29 - kpi20761
P. 29
28
มีการนัดหยุดงานอย่างกว้างขวาง จนในที่สุดเกิดการเรียกร้องให้รัฐบาล
ตรากฎหมายแรงงานเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้แรงงาน อันเป็นผลให้มี
การประกาศใช้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ขึ้น และ
นับต่อจากนั้นมาก็มีกฎหมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแรงงานในประเด็น
ต่างๆ ประกาศใช้ตามมาเป็นอีกจ�านวนมากจนกระทั่งปัจจุบัน
ต้นแบบกฎหมำยแรงงำนไทย ในส่วนของแนวทางที่ประเทศไทย
ได้ถือเป็นแบบอย่างในการร่างและปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับ
การแรงงานนั้น ก็คือ แนวทางที่ปรากฏในอนุสัญญาขององค์การแรงงาน
๑๗
ระหว่างประเทศฉบับต่างๆ ซึ่งเป็นองค์กรที่ไทยได้เข้าเป็นภาคีตั้งแต่
ปี ค.ศ. ๑๙๑๙ ในฐานะประเทศผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่ ๑ แต่กระนั้น
ด้วยบริบทและข้อจ�ากัดต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมท�าให้กฎหมาย
และแนวปฏิบัติภายในของไทยสอดคล้องกับแนวทางในอนุสัญญาได้อย่าง
ไม่ครบถ้วนเป็นผลให้ประเทศไทยพยายามปรับปรุงแก้ไขทั้งข้อกฎหมายและ
แนวปฏิบัติเพื่อให้สอดรับกับหลักสากลดังกล่าวให้ได้มากที่สุด ดังปรากฏว่า
๑๘
ในปัจจุบันประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาไปแล้วถึง ๑๘ ฉบับ
กระนั้น หลักการแรงงานในอนุสัญญาฉบับที่ไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันด้วย
เหตุผลและข้อจ�ากัดต่างๆ ก็มิได้ถูกเมินเฉยจากรัฐบาลและภาคีสังคม ไทย
๑๙
แต่อย่างใด หากแต่เมื่อประเทศไทยต้องการปรับปรุงหรือแก้ไขบทบัญญัติ
๑๗ ข้อมูลส่วนนี้ไม่ปรากฏเอกสารทางวิชาการอ้างอิงที่ชัดเจน หากแต่เป็นทางปฏิบัติ
ในการร่างกฎหมายทั้งในชั้นกระทรวงและชั้นกฤษฎีกา ที่มักจะมีการใช้หลักแรงงานสากลตาม
แนวทางขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศเป็นข้อมูลอ้างอิงพื้นฐาน นอกจากนี้แล้ว การ
วิเคราะห์บทสัมภาษณ์ดังปรากฏในภาคผนวกแนบท้ายก็ได้ความดังกล่าวมานี้ (คณะผู้วิจัย)
๑๘ (ออนไลน์) http://www.ilo.org/dyn/normlex/en/f?p=1000:11200:0::NO:11200
:P11200_COUNTRY_ID:102843 (เข้าถึงเมื่อ ๙ ตุลาคม ๒๕๖๐)
๑๙
ภาคีสังคม เป็นค�าที่คณะผู้วิจัยถอดความมาจากภาษาฝรั่งเศสค�าว่า “partenaire sociaux”
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 28 13/2/2562 16:24:07