Page 27 - kpi20761
P. 27
26
แรงงานระหว่างประเทศเองก็ได้ออกอนุสัญญาเรื่องต่างๆ ที่เป็นมาตรฐาน
กลางทางด้านแรงงานมาบังคับใช้ถึง ๑๘๙ ฉบับ อันเป็นแนวทางที่ประเทศ
๑๒
สมาชิกจะได้น�าไปใช้เป็นหลักการร่วมกันเพื่อการพัฒนากฎหมายและ
แนวปฏิบัติภายในของประเทศตนเกี่ยวกับเรื่องการแรงงานต่อไป
กฎหมำยแรงงำนในประเทศไทย ในภาพรวมพัฒนาการของ
กฎหมายแรงงานไทยมีลักษณะคล้ายกับสากล กล่าวคือ ก่อนเปลี่ยนแปลง
การปกครอง ๒๔๗๕ การกล่าวถึงกฎหมายแรงงานมักจะนึกถึงระบบ
ศักดินาที่มีการก�าหนดหน้าที่ของมูลนายและไพร่ราษฎรในการท�างาน
ให้กับรัฐและเข้าสังกัดมูลนาย กระนั้นในช่วงปี ๒๔๖๒ เป็นต้นมาได้มีแนวคิด
ที่จะยกร่างบทบัญญัติว่าด้วยสัญญาจ้างงาน แต่ร่างกฎหมายฉบับนี้ก็ไม่ได้
มีการประกาศใช้จนกระทั่งมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ บรรพ ๓ เมื่อปี ๒๔๗๑ ได้มีการบัญญัติหลักเกณฑ์ในการท�า
สัญญาจ้างแรงงานไว้ในลักษณะ ๖ ของประมวลกฎหมายดังกล่าวอันถือว่า
เป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการกฎหมายแรงงานไทยปัจจุบัน
หลังการเปลี่ยนแปลงทางปกครอง บริบททางการเมืองท�าให้
กฎหมายแรงงานกลายเป็นเรื่องที่ค่อนข้างมีความส�าคัญกับระบบการ
ปกครองแบบใหม่ ดังปรากฏว่าได้มีการประกาศใช้บทกฎหมายที่มีเนื้อหา
เกี่ยวด้วยการจัดหางาน ขึ้น ซึ่งถือเป็นกฎหมายที่เนื้อหาเกี่ยวกับ
๑๓
การแรงงานโดยแท้ฉบับแรกในยุคประชาธิปไตยของไทย หลังจากนั้นก็มี
ความพยายามที่จะผลักดันให้สภาผู้แทนราษฎรตรากฎหมายที่มีเนื้อหา
๑๒
ข้อมูล ณ วันที ๑๕ มกราคม ๒๕๖๑ โปรดดู (ออนไลน์), http://www.ilo.org/global/
standards/lang--en/index.htm
๑๓ พระราชบัญญัติว่าด้วยส�านักงานจัดหางาน พ.ศ. ๒๔๗๕ และพระราชบัญญัติว่าด้วย
ส�านักงานจัดหางานประจ�าท้องถิ่น พ.ศ. ๒๔๗๕
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 26 13/2/2562 16:24:07