Page 22 - kpi20761
P. 22
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 21
ความน�า
แรงงานถือเป็นปัจจัยส�าคัญในการพัฒนาประเทศทั้งในระดับ
จุลภาคและมหภาค ในระดับจุลภาค แรงงานเป็นตัวแปรหลักของกระบวนการ
ผลิตที่ผู้ประกอบการต้องให้ความส�าคัญและใส่ใจในการวางแผน
เพื่อการบริหารจัดการการใช้แรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้ข้อจ�ากัด
เรื่องภาระค่าใช้จ่ายต�่าที่สุดที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับตามกฎหมาย
ซึ่งการดังกล่าวย่อมส่งผลโดยตรงต่อความเจริญเติบโตของภาคธุรกิจ
ส�าหรับระดับมหภาคนั้น การจ้างงานในอัตราสูงและการลดลงของอัตรา
การว่างงาน คุณภาพและฝีมือของแรงงาน ตลอดจนการไม่มีปัญหา
การเรียกร้องทางด้านแรงงาน ถูกมองว่าเป็นภาพสะท้อนถึงบรรยากาศ
ที่ดีต่อการลงทุนอันเป็นปัจจัยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้สามารถ
ด�าเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและน�ามาซึ่งความมั่งคั่งของประเทศ
ด้วยเหตุนี้ การจัดการเกี่ยวกับแรงงานไม่ว่าจะเป็นการจัดหางาน
การคุ้มครองแรงงาน การพัฒนาฝีมือแรงงาน และการแรงงานสัมพันธ์
ตลอดจนการระงับข้อพิพาทและข้อขัดแย้งทางด้านแรงงานด้วยสันติวิธี
จึงล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่รัฐบาลของทุกประเทศต้องให้ความส�าคัญ
อย่างยิ่งยวด ซึ่งแน่นอนที่สุดว่า “กฎหมาย” เป็นเครื่องมือส�าคัญในการ
บริหารจัดการกับปัญหาเหล่านี้
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 21 13/2/2562 16:24:07