Page 18 - kpi20761
P. 18
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 17
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ ฉบับหนึ่ง
และวาระปฏิรูปของสภาปฏิรูปแห่งชาติ อีกฉบับหนึ่ง
ส�าหรับ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” นั้นได้ให้
ความส�าคัญกับการพัฒนากฎหมายแรงงานอย่างยิ่งโดยสามารถแบ่งออก
เป็น ๗ ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพ
มนุษย์ การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล�้าในสังคม การสร้าง
ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการ
ในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและธรรมาภิบาลในสังคมไทย
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ การพัฒนาภาคเมือง
และพื้นที่เศรษฐกิจ และความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา
นอกจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นอกจากนี้แล้ว นโยบาย
ที่มีความส�าคัญต่อการพัฒนาการแรงงานยังปรากฏตามวาระปฏิรูปของ
สภาปฏิรูปแห่งชาติ วาระการปฏิรูปของสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ก�าหนดให้
การปฏิรูปการแรงงานเป็นวาระการปฏิรูปที่มีความส�าคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะ
ประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน การบริการจัดการการเคลื่อนย้าย
แรงงานข้ามชาติ และการจัดตั้งธนาคารแรงงานและการจัดท�าฐานข้อมูล
นอกจากนี้เมื่อพิจารณาวาระการปฏิรูปวาระอื่นแล้วจะพบว่ายังมีวาระที่มี
ความเกี่ยวข้องกับการพัฒนากฎหมายแรงงานด้วยนั่นคือ วาระสวัสดิการ
สังคมและวาระการปฏิรูประบบเพื่อรองรับสังคมคนสูงวัย
การศึกษาเพื่อพัฒนากฎหมายแรงงานของไทยนอกจากจะต้อง
ค�านึงถึงนโยบายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังจ�าเป็นต้องพิจารณาถึง
หลักสากลทางแรงงานตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยเฉพาะการยอมรับ
และน�าเนื้อหาในอนุสัญญาแกนไปปฏิบัติจะท�าให้เกิดมาตรฐานการใช้
แรงงานพื้นฐานเดียวกัน อีกทั้งยังต้องให้ความส�าคัญกับการบัญญัติ
กฎหมายให้เป็นไปตามอนุสัญญาที่ได้ให้สัตยาบันแล้วด้วย
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 17 13/2/2562 16:24:07