Page 15 - kpi20761
P. 15
14
ด้วยเหตุที่ประเทศไทยยังประสบปัญหาเกี่ยวกับแรงงานอย่าง
ต่อเนื่องจนกระทั่งรัฐบาลได้น�าเรื่องแรงงานมาเป็นประเด็นส�าคัญ
ในการปฏิรูปประเทศ คณะผู้วิจัยจึงเห็นควรศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี
ตลอดจนขั้นตอน โครงสร้าง และบริบทต่างๆ ทางกฎหมายเกี่ยวกับ
“การแรงงาน” โดยมุ่งให้เกิดแนวทางการปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
เพื่อสามารถน�าไปใช้ในการปฏิรูปประเทศได้อย่างเหมาะสมสอดคล้อง
กับบริบททางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย ตลอดจนมาตรฐาน
การแรงงานสากล โดยที่งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ทั้งหมด ๕ ประการ อันได้แก่
(๑) บทบัญญัติกฎหมายไทยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแรงงาน
และมีผลใช้บังคับในปัจจุบัน โดยศึกษาเปรียบเทียบกับ
หลักการแรงงานสากลที่ส�าคัญและจ�าเป็น โดยเน้นเรื่อง
การคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการแรงงาน การพัฒนา
ฝีมือแรงงาน และการบริหารจัดการแรงงาน
(๒) ทิศทางการบริหารจัดการแรงงานและนโยบายต่างๆ
เกี่ยวกับเรื่องการแรงงานที่รัฐบาลไทยให้ความส�าคัญ
ทั้งที่เป็นนโยบายเร่งด่วนซึ่งปรากฏความในแผนปฏิรูป
ประเทศ ตลอดจนแนวทางตามมาตรฐานสากลที่
รัฐบาลไทยจ�าต้องให้ความส�าคัญเพื่อการก�าหนดกรอบ
และวางแผนพัฒนาการแรงงานในระยะยาวได้
(๓) ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการแรงงานที่จ�าเป็นต้อง
ปรับปรุงแก้ไขในระยะเร่งด่วน ตามกรอบแนวทางในการ
ปฏิรูปประเทศ และการพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับ
มาตรฐานแรงงานสากล ภายใต้บริบททางด้านเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรมอย่างไทย
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 14 13/2/2562 16:24:06