Page 16 - kpi20761
P. 16
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 15
(๔) มาตรการเสริมต่างๆ เช่น มาตรการทางการคลัง ฯลฯ
ที่อาจน�ามาใช้เพื่อท�าให้การแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
แรงงานไม่ส่งผลกระทบต่อภาคส่วนอื่นจนเกินไป
(๕) เผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและความเหมาะสม
ในการพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทย
แก่ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องโดยตรง
การศึกษาวิจัยนี้สามารถแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๕ บท อันได้แก่
บทที่ ๑ สถานะกฎหมายแรงงานไทย : ความพยายามในการพัฒนา
ตามแนวทางสากลกับอุปสรรคอันเป็นข้อเท็จจริงเฉพาะของประเทศ บทที่ ๒
นโยบายเพื่อการพัฒนากฎหมายแรงงานไทย : ความจ�าเป็นเร่งด่วน
และความสอดคล้องอย่างสมบูรณ์กับหลักการสากล บทที่ ๓ ประเด็น
ปัญหาเพื่อการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายแรงงานไทยให้สอดรับกับแนวทาง
การปฏิรูปประเทศ บทที่ ๔ ปัจจัยแวดล้อมเพื่อการพัฒนากฎหมายแรงงาน
อย่างรอบด้าน และบทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ
บทที่ ๑ สถำนะกฎหมำยแรงงำนไทย : ควำมพยำยำม
ในกำรพัฒนำตำมแนวทำงสำกลกับอุปสรรคอันเป็นข้อเท็จจริงเฉพำะ
ของประเทศ กฎหมำยแรงงำนไทยมีวิวัฒนำกำรมำอย่ำงยำวนำน
กฎหมายแรงงานไทยมีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลง
การปกครองซึ่งเป็นเรื่องการก�าหนดระบบศักดินาจนกระทั่งมีบทบาทส�าคัญ
ทั้งในทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจของประเทศในช่องหลังเปลี่ยนแปลง
การปกครอง และยังมีความส�าคัญเรื่อยมากจนถึงปัจจุบัน การพิจารณา
สถานะของกฎหมายแรงงานไทยมีความจ�าเป็นต้องพิจารณาทั้งสถานะ
ภายใต้มุมมองกฎหมายภายในประเทศและสถานะภายใต้มุมมองของสากล
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 15 13/2/2562 16:24:07