Page 20 - kpi20761
P. 20
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 19
อย่ำงรอบด้ำน ทั้งนี้ ปัจจัยแวดล้อมดังกล่าวประกอบไปด้วยระบบสังคม
เกษตรกรรม ปัญหาทางการเมือง และมาตรการเสริมเพื่อขับเคลื่อน
นโยบายการพัฒนากฎหมายไทย อาทิ มาตรการส่งเสริมการจ้างคนพิการ
และผู้สูงอายุ
การศึกษาข้อมูลทั้งหมด (เน้นงานเขียนเชิงเอกสาร) สามารถสรุป
ได้ว่างานวิจัยฉบับนี้มุ่งน�าเสนอสารัตถะ ๔ ประเด็น ได้แก่ ประเด็นว่าด้วย
แนวคิดและพื้นฐานข้อเท็จจริงของบทบัญญัติแรงงานไทย ประเด็นว่าด้วย
การปฏิรูป (ระยะสั้น) และพัฒนา (ระยะยาว) ของกฎหมายแรงงานไทย
ประเด็นว่าด้วยแนวทางเพื่อการแก้ไขข้อกฎหมายทั้งในประเด็นที่จ�าเป็น
ต้องปฏิบัติและประเด็นที่ควรปฏิบัติ และประเด็นว่าด้วยมาตรการที่ควร
น�ามาใช้ควบคู่กับดังปรากฏในบทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ
ในประเด็นว่ำด้วยแนวคิดและพื้นฐำนข้อเท็จจริงของ
บทบัญญัติแรงงำนไทย โดยภาพรวม กฎหมายแรงงานไทยมีความ
สอดคล้องกับอนุสัญญาแกนเป็นส่วนใหญ่ แต่ยังมีอนุสัญญาบางฉบับที่
กฎหมายแรงงานไทยควรมีความสอดคล้อง
ในประเด็นเกี่ยวกับกำรปฏิรูป (ระยะสั้น) และพัฒนำ (ระยะยำว)
ของกฎหมำยแรงงำนไทย การปฏิรูปกฎหมายแรงานควรให้ความส�าคัญ
กับการคุ้มครองแรงงานเป็นอันดับแรก ส่วนสวัสดิการแรงงาน การพัฒนา
ฝีมือแรงงาน และการบริการจัดการแรงงานเป็นเรื่องรองลงมา
ในประเด็นว่ำด้วยแนวทำงเพื่อกำรแก้ไขข้อกฎหมำย
ทั้งในประเด็นที่จ�ำเป็นต้องปฏิบัติและประเด็นที่ควรปฏิบัติ ส�าหรับ
ข้อกฎหมายที่จ�าเป็นต้องแก้ไขประกอบไปด้วยการปรับปรุงมาตรา ๑๕
ของพระราชบัญญัติคุ้มครองครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ การปรับปรุง
เนื้อหาของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ พระราชบัญญัติ
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 19 13/2/2562 16:24:07