Page 23 - kpi20761
P. 23

22


                         ควำมเป็นมำของกฎหมำยแรงงำน เมื่อกล่าวถึงกฎหมาย
                 แรงงานแล้ว เป็นที่เข้าใจได้ว่าคือกฎเกณฑ์หรือระเบียบที่บริหารจัดการ

                 การใช้แรงงานกายหรือแรงงานสมองของมนุษย์ ดังนั้นแล้ว แรงงานธรรมชาติ
                 แรงงานที่เกิดจากเครื่องจักร ตลอดจนแรงงานจากสัตว์ จึงเป็นเพียงแรงงาน
                 ทดแทนที่ไม่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายแรงงานแต่อย่างใด  ในยุคที่
                                                                     ๓
                 ระบบการปกครองเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เนื้อหาของกฎหมาย
                 แรงงานมักจะเกี่ยวข้องกับการควบคุมก�าลังคนและการที่รัฐได้ประโยชน์

                 จากแรงงานของพลเมือง ตัวอย่างเช่น กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบ
                                          ๔
                 ศักดินาสวามิภักดิ์ (feudalism)  ในยุโรปคอนติเนลตัล หรือระบบมูลนาย ๕
                 ที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยในอดีต แต่เมื่ออิทธิพลของแนวคิดเสรีนิยม

                 ได้ก่อตั้งขึ้นและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายตั้งแต่ช่วงปลาย
                 ศตวรรษที่ ๑๗  เป็นต้นมา ลักษณะสภาพของสังคมจึงได้เปลี่ยนแปลงไป
                             ๖
                 เป็นอย่างมาก ปัจเจกบุคคลมีอิสระเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ผู้ที่มีฐานะ
                 สามารถประกอบกิจการได้อย่างเสรีไม่ถูกรัฐควบคุมเหมือนที่ผ่านมา
                 กอปรกับความเจริญของเทคโนโลยีที่ได้มีการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน�้าขึ้น

                 ท�าให้เกิดการตั้งโรงงานจ�านวนมากอันเป็นที่มาของความต้องการแรงงาน





                 ๓  สุดาศิริ  วศวงศ์ และปานทิพย์  พฤษาชลวิทย์, ค�ำอธิบำยกฎหมำยคุ้มครองแรงงำน,
                 (กรุงเทพฯ : นิติบรรณาการ, ๒๕๕๗), หน้า ๘.
                 ๔  โปรดดู นันทนา  กปิลกาญจน์, ประวัติศำสตร์และอำรยธรรมโลก, พิมพ์ครั้งที่ ๗,
                 (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๖).
                 ๕
                  โปรดดู ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (บรรณาธิการ), ประวัติศาสตร์แรงงานไทย ฉบับกู้ศักดิ์ศรี
                 กรรมกร, พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
                 มหาวิทยาลัย และมูลนิธิฟรีดริก เอแบร์ท, ๒๕๔๑.
                 ๖  โปรดดู ศุภศิษฏ์  ทวีแจ่มทรัพย์ และรวินทร์  ลีละพัฒนะ, กำรจ�ำกัดสิทธิและเสรีภำพ
                 ในกำรประกอบอำชีพโดยข้อสัญญำห้ำมท�ำกำรแข่งขันกับกิจกำรของนำยจ้ำงใน
                 กฎหมำยไทย : ศึกษำเปรียบเทียบกฎหมำยอังกฤษและกฎหมำยฝรั่งเศส, รายงานวิจัย
                 ฉบับสมบูรณ์, กองทุนวิจัยคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๙, หน้า ๑๗.





         inside_ThLabourLaw_c1-2.indd   22                                     13/2/2562   16:24:07
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28